หน้าหลัก / พิพิธภัณฑ์ จดหมายเหตุ / พิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของมาเลเซีย
พิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของมาเลเซีย
(Museums, History and Culture in Malaysia)
อาบู ทาลิบ อาหมัด (Abu Talib Amad), เทียมสูรย์ ศิริศรีศักดิ์, ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
300 บาท
• มีสินค้าพร้อมส่ง
สินค้าหมดสต๊อก
มีหนังสือบริการให้อ่านฟรีที่ห้องสมุดศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร
ลิงค์ไปห้องสมุด: www.sac.or.th/library
เวลาทำการห้องสมุด
จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.
เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ
Share
พิพิธภัณฑ์ได้กลายเป็นเครื่องมือของรัฐชาติหรือหน่วยงานต้นสังกัดมาอย่างยาวนาน ในกรณีของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ในมาเลเซีย การนำเสนอประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมได้รับอิทธิพลอย่างรุนแรงจากนโยบายวัฒนธรรมแห่งชาติ ค.ศ.1971 ที่เขียนให้สอดรับกับค่านิยมของมุสลิมมาเลย์ อดีตถูกเล่าเพื่อให้สอดรับกับมุมมองของเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติ ในขณะที่สิ่งที่ถูกกีดกันออกไปและสิ่งที่ถูกเพิกเฉยครอบคลุมมุมมองทางการเมืองและศาสนาที่ถูกมองว่าไม่ถูกต้อง ความเปลี่ยนแปลงในนิทรรศการพิพิธภัณฑ์เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าพิพิธภัณฑ์ยังคงนำเสนอวาระแห่งการสร้างชาติอย่างเหมาะสมกับยุคสมัยที่ความสนใจสาธารณะต่อพิพิธภัณฑ์และความตระหนักถึงความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ถดถอยลง (ส่วนหนึ่งจากบทนำ)

Museums, History and Culture in Malaysia(2014) เขียนโดย Abu Talib Ahmad, ศาสตราจารย์ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่คณะมนุษยศาสตร์ แห่ง Universiti Sains Malaysia (USM).จัดพิมพ์โดย National University of Singapore (NUS) Press แปลเป็นไทยในชื่อ “พิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของมาเลเซีย” แปลโดย ผศ.ดร. เทียมสูรย์ เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคุณชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ นักวิชาการ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

อาบู ทาลิบ อาหมัด พยายามชี้ให้เห็นว่า แม้มาเลเซียจะเป็นประเทศที่ก่อขึ้นจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ และผู้นำทางความคิดและการเมืองในแต่ละยุคสมัยต้องเผชิญความท้าทายในการบูรณาการความแตกต่างเหล่านี้ แต่เมื่อหน่วยงานทางวัฒนธรรมในระดับชาติและท้องถิ่น จะใช้พิพิธภัณฑ์ในการให้การศึกษาแล้ว การจัดแสดงคงให้ความสำคัญกับอุดมการณ์ทางการเมืองที่อิงกับความเป็นศูนย์กลางแบบมาเลย์ และให้ความสำคัญกับลักษณะพหุทางวัฒนธรรมไม่มากเท่าที่ควร โดยแสดงตัวอย่างจากพิพิธภัณฑ์หลากประเภทหรือการเลือกวัตถุจัดแสดง เช่น การไม่นำเสนอโบราณวัตถุในกลุ่มฮินดู-พุทธมากนัก ทั้ง ๆ ที่มาเลเซียเป็นดินแดนที่เคยมีผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อิสลาม ผู้เขียนยังอภิปรายถึงการนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องชนพื้นถิ่น(Orang Asli)  จนก่อเกิดเป็นพิพิธภัณฑ์ชนพื้นถิ่น เพื่อแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการขยายความเข้าใจในความหลากหลายในสังคม  ผู้เขียนแสดงให้เห็นกลวิธีในการศึกษาพิพิธภัณฑ์ที่พิจารณาทั้งบริบททางประวัติศาสตร์ การเมือง รวมถึงการเจาะข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานวัฒนธรรมของประเทศ ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่า พิพิธภัณฑ์ศึกษาจะต้องให้ความสำคัญกับภูมิทัศน์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่แวดล้อมสถาบันวัฒนธรรมเช่นพิพิธภัณฑ์ และในอีกทางหนึ่ง พิพิธภัณฑ์ศึกษาช่วยชี้ให้เห็นเงื่อนไขในการถ่ายทอด “ความรู้” สู่สาธารณชน
ป้ายกำกับ
รีวิวหนังสือเล่มนี้
0.0
Out of 5
0 Ratings
หนังสือที่คุณอาจชอบ
01 / 05
รีวิวและให้คะแนนหนังสือเล่มนี้
พิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของมาเลเซีย
อาบู ทาลิบ อาหมัด (Abu Talib Amad), เทียมสูรย์ ศิริศรีศักดิ์, ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
ตะกร้าสินค้า
ลงชื่อเข้าใช้งาน
เพื่อเว็บไซต์จะแนะนำหนังสือ
ในหมวดหมู่ที่คุณอาจสนใจได้ทันที
ลืมรหัสผ่าน?
กรุณากรอกอีเมลที่ท่านสมัครสมาชิกไว้เพื่อรับรหัสผ่านใหม่
ระบบจัดส่งการสร้างรหัสผ่านใหม่ให้ท่านทางอีเมลเรียบร้อยแล้ว
นโยบายความเป็นส่วนตัว