การเมืองของการเซ่น (ผี) เมืองไทในเวียดนาม
สินค้าหมดสต๊อก
มีหนังสือบริการให้อ่านฟรีที่ห้องสมุดศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร
ลิงค์ไปห้องสมุด: www.sac.or.th/library
ลิงค์ไปห้องสมุด: www.sac.or.th/library
เวลาทำการห้องสมุด
จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.
เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.
หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ
เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.
หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ
หนังสือเล่มนี้เป็นประโยชน์ต่อเนื้อหาในการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจกลุ่มชาติพันธุ์ไทในบริเวณภาคกลางตอนเหนือของเวียดนาม ผู้เขียนชี้ให้เห็นปฏิบัติการของการประกอบสร้างเพื่อการต่อรองทางวัฒนธรรมในพื้นที่สนามด้วยข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์นิพนธ์ วรรณกรรมชาติพันธุ์ และพิธีกรรม จากกรณีศึกษาการฟื้นฟูพิธีเซ่นผีเมือง ในอำเภอ Mai Châu จังหวัด Hòa Bình และอำเภอ Quan Són จังหวัด Thanh Hóa ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูวัฒนธรรมกลุ่มไท เช่น การฟื้นฟูภาษาไทแต่ละถิ่น และการเขียนประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของแต่ละกลุ่มที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้น อันเป็นรูปธรรมของข้อเสนอในประเด็นการเมืองอัตลักษณ์และการเมืองของวัฒนธรรมที่แตกต่าง ทำให้เห็นการต่อรองช่วงชิงความหมายของพื้นที่ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์และรัฐเวียดนาม งานชิ้นนี้ได้ก้าวพ้นจากการต่อรองในวิธีคิดของการสร้างคู่ตรงข้ามของความแตกต่าง แต่เป็นการเมืองเชิงวัฒนธรรมใหม่ของความหลากหลายและอัตลักษณ์ที่ดำเนินไปอย่างผันแปรตามเงื่อนไขความสัมพันธ์
สารบัญ
คำนิยม
คำนำผู้เขียน
บทที่ 1 เกริ่นนำ
- ใครคือคนไทในภาคกลางตอนเหนือของเวียดนาม และทำไมต้องศึกษาเรื่องราวของเขา
- แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ พื้นที่ และสถานที่
- ขอบเขตของหนังสือ
- สนามของนักชาติพันธุ์วรรณาและการศึกษาเอกสารไทและเวียดนาม
บทที่ 2 ภูมิศาสตร์ ชาติพันธุ์ และประวัติศาสตร์เมืองมุน (มายโจว) และเมืองเซีย (กวานเซิน)
- ภูมิศาสตร์และชาติพันธุ์อำเภอมายโจวและกวานเซิน
- สังเขปประวัติศาสตร์และพื้นที่วัฒนธรรมไทขาวเมืองมุน (มายโจว)
- พื้นที่ทางวัฒนธรรมของเมืองมุนในประวัติศาสตร์การผสมผสานทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม
- สังเขปภูิศาสตร์และเศรษฐกิจของกวานเซิน
- สังเขปประวัติศาสตร์เมืองเซีย (กวานเซิน) และความผูกพันต่อสถานที่
- การจัดการองค์กรทางสังคมของเมืองไท
บทที่ 3 เซ่นเมืองมุน: ต่าวลงโบน การท่องเที่ยว สถานที่ และอัตลักษณ์ชาติพันธุ์
- ความนำ
- เซ่นเมืองมุนในอดีต
- เมืองมุนในปัจจุบัน: สถานที่เชิงยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์
- มายโจวในการเเข่งขันและการขยายตัวของตลาดการท่องเที่ยว: ความหวัง
การสะสมทุน และความเครียด
- กลับไปยังรากเหง้ากับการสร้างอัตลักษณ์ใหม่และความหมายใหม่ของสถานที่
ในยุคเศรษฐกิจการตลาด
- บทบาทที่สำคัญของปัญญาชนท้องถิ่น ในการผลิตใหม่บรรพบุรุษไทมายโจว
และการรื้อ-สร้างศาลเจ้าใหม่ในพิธีเซ่นเมือง
- การประดิษฐ์พิธีเซ่นเมืองกับการต่อรองกับนโยบาย "กลับไปสู่รากเหง้า" ของรัฐชาติ
- ความส่งท้าย
บทที่ 4 เซ่นเมืองเซีย: ตือม้าฮายด่าว เมืองชายแดน สำนึกต่อสถานที่และการสร้าง
ศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของคนไท
- ความนำ
- ตือม้าฮายด่าวและภูฟ้าซัวในเรื่องเล่าและความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมของคนไทกวานเซิน
- ปฐมบทของการผลิตซ้ำกวานเซินในฐานะที่เป็นสถานที่ของคนไท
- ความพยายามในการเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ตือม้าฮายด่าว
- ศึกชิงดินแดนได่เวียด-อ้ายลาว และตือม้าฮายด่าว ในตำนานที่ถูกบันทึก
ด้วยภาษาไทโบราณ
- ตือม้าฮายด่าวมีตัวตนในประวัติศาสตร์จริงหรือไม่ถ้าจริง...มีชีวิตอยู่ในรัชสมัยใด
- แนวคิดเรื่องพรมแดนในกรอบคิดรัฐเดี่ยว ของได่เวียดที่แตกต่างจากความคิดของลาว
- การสร้างศาลตือม้าฮายด่าวในฐานะบรรพบุรุษผู้คุ้มครองเมืองและการประดิษฐ์พิธีเซ่นเมือง
กับการสร้างสำนึกต่อสถานที่
- ความส่งท้าย
บทที่ 5 ความส่งท้าย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก ก ปริวรรตเอกสารพื้นเมือง
"ซาฝาเหาะข่าคูนหลวง" จากภาษาไทเมืองมุนเป็นภาษาไทย
ภาคผนวก ข ปริวรรตเอกสารพื้นเมือง
"ปื้นตือม้าฮายด่าว" จากภาษาไทเมืองคองเป็นภาษาไทย
ดัชนี
.
ผู้ออกแบบปก:
สกลชนก เผื่อนพงษ์
สำนักพิมพ์:
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ปีที่พิมพ์:
2564
ISBN:
978-616-8311-00-4
จำนวนหน้า:
352
ป้ายกำกับ
รีวิวหนังสือเล่มนี้
หนังสือที่คุณอาจชอบ
01 / 05
รีวิวและให้คะแนนหนังสือเล่มนี้


