
4 กรกฎาคม 2566
เรื่องสั้น : บนเส้นทางของมาลิน - สุพัตรา กิจวิสาละ

บนเส้นทางของมาลิน
สามเดือนต่อมามาลินก็กลับมายืนที่หน้าเมรุหลังเดิมนี้อีกครั้ง ต่างกันที่เย็นนี้เธอดูสงบนิ่ง ใบหน้าเงยขึ้นส่งสายตาจับที่ปลายปล่องไฟ “ถึงเวลาของแม่แล้ว” เธอรำพึงบอกตัวเอง ไร้รอยน้ำตาหรือแววโศกอาดูรเหมือนมาลินในวันที่ร่างบนเมรุนี้คือพ่อ
งานของแม่จัดเรียบง่าย แขกเหรื่อเป็นชุดเดียวกับที่มางานพ่อ บางตาลงบ้างเพราะลูกๆ ส่งข่าวเฉพาะคนใกล้ชิดกับครอบครัว เมื่อครู่เธอกุลีกุจอกล่าวขอบคุณและเดินส่งพวกเขาขึ้นรถ กระฉับกระเฉงคล่องแคล่ว เหมือนชีวิตเริ่มกลับคืนมาแล้ว
“แม่จะต้องไม่ตายแบบเดียวกับพ่อ” การจากไปของพ่อหลังสามปีที่เธอเข้ามาดูแลเต็มตัวกระทบใจเธอรุนแรงนัก
พ่อตรวจพบเบาหวานตามหลังแม่นานหลายปี แต่เส้นทางชีวิตผู้ป่วยของพ่อระหกระเหิน จนวันหนึ่งก็เกิดเหตุ พ่อหมดสติที่บ้านขณะอยู่ลำพังกับแม่ เพื่อนบ้านเรียกรถฉุกเฉินนำส่งโรงพยาบาลทันอย่างหวุดหวิดก่อนที่ลูกๆ จะตามไปทีหลัง ทางโรงพยาบาลบอกว่าค่าน้ำตาลของพ่อตอนนั้นสูงระดับที่อาจคุกคามถึงชีวิต
ในขณะที่แม่เดินไปศูนย์สุขภาพใกล้บ้านเอง ตรงตามวันนัด พบหมอ รับยา และสนุกกับกลุ่มเรียนรู้เรื่องการดูแลตนเองกับเพื่อนผู้ป่วยเบาหวานด้วยกัน แต่หมอของพ่อบอกว่าต่อไปขอให้มีญาติมากับคนไข้ด้วยทุกครั้ง ซึ่งจะเป็นใครอื่นไปไม่ได้นอกจากเธอ ที่เป็นลูกสาวคนโตและคนเดียวของบ้าน ในบรรดาลูก ๆ หกคน จากวันนั้นมาลินก็ไปกับพ่อไม่เคยขาด บ่อยครั้งที่หมอให้พ่อออกจากห้องตรวจก่อน เหลือแต่มาลินอยู่ต่อเพื่อคุยเพิ่มอีก ซึ่งเป็นรูปแบบการคุยที่ คุณหมอเป็นฝ่ายพูดเกือบตลอด มาลินเป็นแต่เพียงผู้รับฟัง
หมอหนุ่มท่าทางใจดีคนนี้มาดูแลพ่อต่อจากหมออาวุโสคนเดิมที่ย้ายไปรับตำแหน่งที่อื่น ใจจริงพ่ออยากย้ายโรงพยาบาลตามไปรักษากับคุณหมอต่อด้วย พ่อว่าตอนพบกันครั้งแรกคุณหมอคนใหม่จ้องดูประวัติหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่นานก่อนจะพูดกับพ่อเรื่องค่าไต และเขียนใบส่งพ่อไปนัดตรวจ จอประสาทตากับหมอเฉพาะทางและให้ไปทำนัดตรวจเท้าอีกแผนก คุณหมอบอกมาลินว่าพ่อไม่ได้ไปตามนั้น และเธอได้รู้ว่าพ่อเริ่มมีภาวะไตวายจากผลแทรกซ้อนของเบาหวานและควรจะมีคนมาช่วยดูแล ซึ่งพอพ้นหลังหมอพ่อก็บอกมาลินว่าพ่อมาถึงโรงพยาบาลตั้งแต่เช้าและรอคิวเข้าตรวจนาน จนเพลียเกินกว่าจะเดินงก ๆ เงิ่น ๆ ข้ามไปอีกสองตึกเพื่อติดต่ออีกสองเรื่อง
คุณหมอพูดเสียงนุ่มนวลฟังง่าย ๆ แต่สำหรับมาลินรู้สึกว่าเนื้อความมีหลายเรื่องและยาวมาก ทุกเรื่องสำคัญต่อชีวิตของพ่อ หมอบอกว่าตั้งแต่พ่อรักษาเบาหวานมา ค่าน้ำตาลไม่เคยคุมได้เลย จึงบอกมาลินให้รับรู้และมาดูแลพ่อที่บ้านต่อ มาลินได้แต่นิ่งฟังสิ่งที่คุณหมอคาดหวังว่าจะเห็นในนัดครั้งต่อไป
ก็มีตอนที่เธอน่าจะเป็นฝ่ายได้พูดบ้าง คือช่วงที่หมอมีคำถาม เช่นถามมาลินว่าทำไมน้ำตาลพ่อไม่ลดเสียที เป็นคำถามซึ่งเธอไม่แน่ใจว่าจริง ๆ แล้วใช่คำถามหรือเปล่าจึงไม่ได้ตอบ ได้แต่ยิ้มแห้ง ๆ พยักหน้ารับเมื่อคุณหมอกำชับเรื่องจัดยาและดูให้พ่อกินให้ตรงขนาดยาที่ปรับใหม่และตรงตามเวลาที่ถูกต้อง เรื่องอาหารที่บางอย่างห้ามพ่อกินมาก บางอย่างให้แค่ชิมคำเดียว แทบไม่มีอย่างไหนที่พ่อสามารถกินได้ตามใจอยากเหมือนเคย ยังมีเรื่องการสังเกตภาวะน้ำตาล ทั้งสูงและต่ำเกินปกติ มิเช่นนั้นพ่ออาจไม่โชคดีรอดชีวิตเหมือนคราวที่ผ่านมา
บางครั้งพอออกจากห้องหมอ พ่อก็ฉุนเฉียวใส่มาลินที่ต้องรอตรวจนานจนหิว หรือกระทั่งเรื่องเครื่องปรับอากาศที่เย็นจัดก็ทำท่าฟึดฟัด บรรยากาศพ่อลูกกรุ่นระอุตั้งแต่ยังไม่พ้นประตูโรงพยาบาล พาพ่อนั่งแท็กซี่กลับมากินข้าวกลางวันที่บ้านก็บ่ายแล้ว
“อย่ามายุ่งกับกู ปล่อยกูตาย กูอยากตาย” มาลินไม่รู้ว่าพ่อเข้าใจความตายว่าอย่างไร พ่ออยากตายจริงหรือว่าพูดด้วยความไม่สบายตัว และพ่อเริ่มเงอะงะไม่คล่องแคล่วดังใจเหมือนเดิม พ่อไม่พูดแบบนี้กับลูก ๆ คนอื่น และไม่พูดกับหมอพยาบาล ที่โรงพยาบาลพ่อเป็นคนไข้ที่เงียบขรึมขี้เกรงใจ เหมือนคนไข้อื่น ๆ หน้าห้องตรวจนั่นแหละ พ่อพูดเฉพาะกับเธอ
หลัง ๆ พ่อสวนกลับมาทุกครั้งตอนที่มาลินชวนคุยเรื่องที่รับปากจากคุณหมอมา เรื่องไปตรวจตา ตรวจเท้า เรื่องการฟอกไตหรือเรื่องอะไรพ่อก็หงุดหงิดไปหมด บ่ายนี้พอทำอาหารแบบที่เธอเรียนจากคลินิกเบาหวานมาตั้งให้กิน พ่อก็เหวี่ยงอารมณ์ใส่
ยามรื่นรมย์พ่อก็มาเล่ากับมาลินทีหลังว่าที่ไม่ได้กินยาตามที่หมอปรับขนาดเพิ่มขึ้นให้ เพราะตัวอักษรบนฉลากหน้าซองยาเล็กเกินสายตาพ่อ และยาเบาหวาน “‘Metformin” ’ในห่อฟอยล์ลอยด์ผนึกแน่น มือสั่น ๆ ของพ่อแกะไม่ถนัด บางมื้อพ่อทำกระเด็นหลุดมือและหาไม่เจอแต่ไม่กล้าบอกใคร
ทุกวันมาลินอยู่กับอารมณ์เหวี่ยงขึ้นลงของผู้ป่วยชราถูกขัดใจ ที่ไม่คิดว่าจะมาเปลี่ยนชีวิตในวันที่อยู่กับโลกมาร่วมร้อยปีแล้ว
เมื่ออยู่บ้านกับแม่ พ่อคือผู้จุดชนวนก่อความเดือดตั้งแต่สมัยยังไม่ป่วย และอุณหภูมิของบ้านยิ่งพลุ่งพล่านเมื่อความเจ็บไข้ของพ่อหนักขึ้น ซึ่งแม่ก็ส่งเสียงสู้พ่อ ไม่ยอมแพ้แม้แต่เรื่องเล็กน้อย เช่น พ่อรดน้ำต้นไม้แฉะเกินไปทั้งบ้านก็จ้าละหวั่นได้ และนั่นคือสิ่งรายล้อมชีวิตของ มาลิน ตลอดเวลาตั้งแต่เธอลืมตาตื่นจนเข้านอนหลับไป ต่อเนื่องยาวนานนับแต่วันที่เธอหยุดชีวิตแบบเดิมมาเป็นผู้ดูแลพ่อเต็มเวลา
ถ้ามีใครสักคนที่บ้านถามถึงการไปหาหมอกับพ่อ ที่ฟังหมอพยาบาลมาเยอะแยะแต่พอมาเล่าแล้วกลับเหลือนิดเดียว ตอนฟังเหมือนจะเข้าใจแต่มาลินก็จำมาได้แค่นั้น คำถามที่พวกเขาถาม มาลินก็ตอบได้บ้าง ตอบไม่ได้ก็เยอะ เช่นถามว่ามาลินไปกับพ่อแล้วได้บอกหมอเรื่องยาสมุนไพรหรือไม่ ได้ถามหมอเรื่องยาต้มรากไม้ที่โส่ยเจ็กน้องชายพ่อเอามาให้หรือเปล่า ทำไม มาลินเจอหมอแล้วไม่ถามเรื่องยาแคปซูลที่เพื่อนพ่ออุตส่าห์เอามาให้ด้วย มาลินได้แต่เงียบ รู้สึกเหมือนที่ทำมาทั้งหมดนั้นยังไม่พอ ในสายตาของคนอื่น ๆ
พ่อกับแม่อันที่จริงน่าจะเป็นผู้ชราที่ไม่โชคร้ายนัก สมัยที่ยังเป็นหนุ่มสาวเริ่มตั้งครอบครัวก็แข็งแรงดีกันทั้งคู่ ไม่เคยเจ็บหนักถึงขนาดต้องนอนโรงพยาบาล มีกิจการเล็ก ๆ เลี้ยงลูก ๆ โตมาได้ ไม่เกเรเป็นภาระครอบครัวหรือสังคม ส่งเรียนจบมีงานการทำเอาตัวรอดกันได้ทุกคน สี่ห้าปีก่อนที่ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าของพ่อในตึกแถวที่ตลาดประจำอำเภอปิดตัวลง ครอบครัวย้ายออกมาหาที่อยู่ใหม่ ลูกชายคนโตมีการเงินแข็งแรงกว่าพี่น้องคนอื่น ๆ ก็ซื้อบ้านเดี่ยวขนาดสบาย ๆ ให้พ่อแม่ได้ใช้ชีวิตบั้นปลายในที่โล่ง ๆ บ้าง และมาลิน ผู้เป็นสาวโสดก็ตามมาอยู่บ้านหลังนี้ด้วยเพื่อดูแลพ่อแม่ น้อง ๆ ผู้ชายแม้จะแยกย้ายออกไปตั้งครอบครัวใหม่กันตามวิถี แต่พวกเขาก็ส่งเสียเงินทองให้พ่อแม่ใช้อย่างสบาย และหาเวลาแวะมาเยี่ยมบ้างตามที่ชีวิตพวกเขาจะอำนวย ซึ่งพอลูกมาเยี่ยม ทั้งพ่อทั้งแม่ต่างคนต่างมีเรื่องฟ้องกันเป็นปกติ
ลูกทุกคนดูแลพ่อแม่กันในแบบของตนซึ่งแตกต่างกันไป พอถึงคราวพ่อป่วยหนักแบบนี้ พวกลูก ๆผู้ชายก็จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือที่ต้องใช้ส่งมาให้ ที่บ้านมีแทบครบ ดังนั้นมาลินในฐานะลูก อีกคนหนึ่ง โดยเฉพาะเป็นลูกสาว หน้าที่ดูแลปรนนิบัติเป็นของเธอก็เหมาะสมที่สุดแล้ว
แม้เธอจะรู้สึก แต่มาลินก็คุ้นชินดีกับสถานะ “‘ลูกสาวต้องต่อท้ายแถว”’ บ้านไหน ๆ ทั้งตลาดที่เธอเติบโตมาก็เป็นแบบนี้หมด และถึงอย่างไรเธอก็ดีกว่าอีกหลายลูกสาวในตลาดเดียวกัน ตรงที่ไม่ต้องรับอยู่โยงเฝ้าร้านต่อจากพ่อแม่ที่แก่ลง เธอได้เรียนวิชาที่ชอบ จบแล้วทำงานตามใจเลือกเอง งานครูสอนภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นประถมในโรงเรียนเอกชนเล็ก ๆ ของเธอเลี้ยงตัวเองได้ กับชีวิตที่ยังอาศัยอยู่ในห้องนอนเล็ก ชั้นสามของตึกแถว ร้านของพ่อแม่ซึ่งเธออยู่มาตั้งแต่เกิดจนโต ตอบแทนด้วยการดูแลงานบ้านที่เธอก็ถนัด เป็นชีวิตที่เธอมีพลังเหลือพอรับงานเสริมแปลบทหนังสนุก ๆ รับช่วงงานมัคคุเทศก์สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มเล็ก ๆ ต่อจากเพื่อนในยุคที่กิจการเฟื่องฟู เป็นครูอาสาสอนภาษาอังกฤษให้เด็ก ๆ ในชุมชนห่างไกลกับเพื่อน ๆ อีกกลุ่ม เธอสนุกกับชีวิตที่ได้ออกนอกนอกบ้านไปพบเจอผู้คนใหม่ ๆ มากมาย ในสังคมที่เธอได้เฉิดฉายความเป็นตัวเองอีกมุมที่พวกเขาเหล่านั้นให้คุณค่า
เส้นทางเสรีที่มาลินได้ขีดวาดชีวิตตัวเองมาหยุดลงเมื่อราวสามสี่ปีก่อน ก้าวออกมาเริ่มชีวิตบนถนนสายใหม่ ในฐานะผู้ดูแลหลักเต็มเวลาให้พ่อ จะว่าไปมาลินก็เริ่มต้นหน้าที่นี้ด้วยจังหวะของชีวิตบันดาล เมื่อระยะหลัง ๆ ครูมาลินขอเปลี่ยนตารางสอนเพื่อไปโรงพยาบาลกับพ่อบ่อยขึ้น ครูใหญ่บอกว่าเข้าใจ เพื่อนครูในห้องพักครูก็ว่าเข้าใจ แต่การสลับตารางสอนไปมาย่อมกระทบต่อตารางชีวิตทั้งเพื่อนครูด้วยกันและทั้งนักเรียน ไม่มีใครว่าให้เข้าหูแต่มาลินเริ่มรู้สึกอึดอัดเวลาเอ่ยปากอีก ประจวบการระบาดใหญ่ ของโควิดเข้ามากระทบชีวิตคนทั้งโลก งานครูที่โรงเรียน งานมัคคุเทศก์ กระทั่งกิจกรรมครูอาสาต้องหยุดไปหมดแบบไม่มีกำหนด รวมถึงอาการของพ่อที่เข้าสู่วาวะเปราะบางเต็มที เหล่านั้นคือจุดเปลี่ยน ที่มาลินมองไม่เห็นทางเลือกเป็นอื่น
ในวันนั้นไม่มีใครรู้ล่วงหน้าเลยว่า อีกไม่นานบ้านหลังนี้จะมีผู้ป่วยเพิ่มอีกคน คือแม่ที่ตรวจพบโรคมะเร็งปอดให้มาลินดูแลไปพร้อม ๆ กันกับพ่อ
เธอก็ไม่ขัดข้องแต่อย่างใดกับการใช้เวลากับพ่อแม่ สำหรับการดูแลบ้าน ดูแลอาหารการกินให้พ่อกับแม่ที่เริ่มชราและมีข้อจำกัดเรื่องสังขารตามวัย งานเพิ่มคือการพาพ่อไปโรงพยาบาล อยู่กับพ่อและรับฟังแผนการรักษาจากหมอ กลับมาบ้านก็จัดการให้วิถีชีวิตของพ่อเป็นไปตามแผนการรักษา ตั้งแต่เช้าพ่อลืมตาขึ้นมาจนถึงเข้านอน นั่นหมายถึงชีวิตของมาลินเองก็ต้องปรับเปลี่ยนจากเดิม มาเป็นวิถีใหม่เพื่อชีวิตพ่อ ไม่ใช่ช่วงสั้น ๆ นับเป็นวันเป็นเดือนแต่หมุนซ้ำร่องเดิมแบบนี้ไปนานปี จะมีที่ไม่ซ้ำคืออาการของพ่อ ที่หนักขึ้น ๆ พ่อขาบวม แน่นท้อง เพลียซึม ปวดหลัง ลุกเข้าห้องน้ำกลางคืนบ่อย บางวันน้ำตาลต่ำ ต้องพาส่งโรงพยาบาลถี่ขึ้น จากไปตามวันนัดเพิ่มเป็นเข้าห้องฉุกเฉิน และหลายครั้งที่ต้องนอนเป็นผู้ป่วยใน
การเข้าโรงพยาบาลในช่วงที่โควิดระบาดเป็นความทุลักทุเลซ้ำซ้อนเพิ่มไปอีก ทั้งตัวพ่อและ ตัวมาลิน และทุกครั้งที่พาพ่อไปเธอต้องรับฟังเรื่องของพ่อที่หนักหน่วงเพิ่มขึ้น ๆ มาลินต้องคิด ต้องตัดสินใจและให้คำตอบเรื่องทางเลือกในการรักษา ที่หมอถามหลายครั้งแล้ว ซึ่งไม่ว่าเลือกทางไหนไป มาลินก็ต้องรับผิดชอบกลับมาอธิบายทำความเข้าใจกับคนที่ไม่ได้ไปโรงพยาบาลกับพ่อด้วย
พอโควิดเริ่มซา ญาติ ๆ ของพ่อมาเยี่ยมที่บ้านบ่อยขึ้น ต่างคนต่างมาพร้อมความรักความปรารถนาดี พวกเขาซักถามมาลินมากมาย พอตอบคำถามนี้ได้ก็มีคำถามใหม่ส่งมาอีกเรื่อย ๆ พากันแนะนำการรักษาทางเลือกแปลก ๆใหม่ ๆ ให้พ่อ ครั้งหนึ่งหยี่โกน้องสาวพ่อเอายาสมุนไพรแคปซูล ที่ได้จากร่างทรงที่พ่อนับถือมายัดใส่มือมาลิน บอกว่าไม่อันตรายเพราะเป็นสมุนไพรจากพืชสวนครัว กินแล้วช่วยขับปัสสาวะลดน้ำตาลได้ กำชับให้จัดให้พ่อกินทุกเช้า
ใครให้อะไรมาพ่อก็จะกินจนมาลินเอือมทั้งพ่อทั้งคนเอามาให้ ขอพ่อว่ากินแค่หนเดียวแล้วรอดูผลเลือดที่โรงพยาบาลวันไปตรวจตามนัด ครั้นพอถึงวันนัดกลับกลายเป็นว่าผลเลือดครั้งนั้นออกมาดีไปได้ พ่อก็หันมองมาลินอย่างผู้ชนะ จนคุณหมอต้องออกปากว่ายาที่แบ่งใส่ถุงพลาสติกมาให้ดูนั้นหมอไม่รู้จักและไม่มีข้อมูล พอกลับมาบ้านพ่อก็รบเร้าจะกินต่อโดยอ้างผลเลือด จน มาลินเหลืออดบอกว่าถ้าพ่อเชื่อยาร่างทรง ก็งดนัดโรงพยาบาลครั้งต่อไป และรับแต่ยาร่างทรงแทน นั่นพ่อถึงยอมเลิกและไปตามนัดโรงพยาบาลต่อ แต่เมื่อเจ้าของยามาเยี่ยมซ้ำ ก็ถามมาลินว่าทำไมพาพ่อมารักษาแบบนี้ ทำไมไม่พาไปที่เขาไปกันแล้วหาย เธอรู้สึกเหมือนญาติ ๆ มาบ้านเพื่อมาติดตามงานเธอ จึงอึดอัดบ่อยครั้งที่รู้สึกสับสน ได้แต่เก็บทุกความคับข้องงรอไว้คุยกับหมอเมื่อถึงวันนัดครั้งต่อไป
เช็งเม้งมาถึง อาเจ็กน้องชายพ่อโทรมาแจ้งข่าวเหมือนทุกปี และบอกว่าการเดินทางไปสระบุรีไกลเกินไปและปีนี้อากาศร้อน อาจะจัดการเรื่องต่าง ๆ ให้พ่อเอง แต่พ่อว่าต้องไป อาจเป็นปีสุดท้ายในชีวิตพ่อ ก็เป็นความเหนื่อยใจที่มาลินต้องเผชิญอยู่คนเดียว พร้อมกันนั้นบ้านนี้ยังมีแม่อีกคน ผู้ป่วยมะเร็งที่เธอต้องดูแลและพาไปรับยาเคมีบำบัดอีกโรงพยาบาลทุกสามสัปดาห์
วันหนึ่งหลังจากพ่อขอไปร่วมวงคาราโอเกะกับกลุ่มเพื่อนเก่าชาวตลาด... ครั้งสุดท้ายในชีวิต พ่ออ้างแบบนี้อีกแล้ว ไปอยู่กันจนดึกกลับมาซมที่บ้าน มาลินนึกว่าพ่อจะได้บทเรียน แต่พอดูแข็งแรงขึ้นพ่อก็ขอไปสมุทรสงครามเพื่อเยี่ยมพี่ชายลูกพี่ลูกน้องที่คุ้นกันมาแต่เล็ก ๆ พอคุยกันติดลมพ่อขอนอนค้างและมาลินอยู่ด้วย ตกค่ำพ่อเหนื่อยเพลียตัวร้อน มาลินตัดสินใจเรียกรถฉุกเฉินโรงพยาบาลเอกชนใกล้ ๆ มารับ พ่อต้องนอนค้างเป็นผู้ป่วยใน เรื่องค่าใช้จ่ายนอกแผนการยังเป็นเรื่องรองจากที่มาลินรู้สึกว่าตนเองผิด อีกแล้วว ที่ตามใจพ่อจนเกิดเหตุ แม้ในที่สุดพ่อจะปลอดภัยกลับบ้านได้ แต่ลูก ๆ หวั่นใจกันไปหมด ดังนั้นตอนที่พ่อขอไปหาเพื่อนเก่าอีกคนที่สุพรรณบุรี ลูก ๆ จึงไม่พาไป พอคนอื่นกลับบ้านเขากันไปหมดพ่อก็มึนตึงใส่มาลิน
ผลตามมาจากเบาหวานทำให้ต่อมาพ่อมีอาการฝ่าเท้าชามากขึ้น เหยียบย่างสัมผัสต่าง ๆ ไม่เหมือนเดิม ความชาเพิ่มระดับจนพ่อเดินสะดุดบ่อยครั้ง เช้าวันหนึ่งไม่นานจากนั้น พ่อก้าวเหยียบบันไดขั้นสุดท้ายพลาดขณะกำลังเดินลงมาชั้นล่างหลังตื่นนอน ทรุดร่วงลงกองพื้นและเข้าโรงพยาบาลอีกครั้ง
พาพ่อไปตอนสาย ส่งเข้าเตียงผู้ป่วยในตอนบ่ายแล้วมาลินก็กลับบ้านไปดูแม่ จบมื้อเย็นพาแม่เข้านอน มาลินเองก็ผลอยหลับข้างมาลินเองก็ผล็อยหลับข้าง ๆ แม่ไปอีกคน ด้วยความเหนื่อยล้าทั้งกายและใจ
ความหน่วงตื้อค้างในหัว มาลินคิดว่านี่ก็เหมือนทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมา ส่งพ่อเข้าโรงพยาบาลแล้วมาลินกลับบ้านและวันรุ่งขึ้นก็มาเยี่ยมใหม่ พ่ออาจนอนหนึ่งคืน สองคืนหรืออาจหลายคืนก็เคย แต่สุดท้ายทางโรงพยาบาลก็โทรแจ้ง มาลินก็มารับกลับบ้าน ก็เป็นแบบนี้มาตลอด
ตีสี่คืนนั้นเธอตอบโทรศัพท์จากพยาบาลเวรดึกสั้น ๆ ด้วยความง่วงงุนแล้วหลับต่อ รุ่งขึ้นตื่นมาจัดการมื้อเช้าของแม่เรียบร้อยเธอจึงเข้าไปโรงพยาบาล
แต่คราวนี้ไม่เหมือนทุกที เช้านี้เตียงที่มาลินส่งพ่อเข้านอนเมื่อวานว่างเปล่า ผ้าปูสีขาวขึงตึง หมอนผ้าห่มวางเป็นระเบียบ เหมือนไม่เคยมีใครนอนมาก่อน และนั่นคือการพาพ่อมาส่งโรงพยาบาลครั้งสุดท้าย
“ทั้งคืนคนไข้ร้องเรียกแต่ชื่อลูกสาวคนเดียวซ้ำ ๆ จนเงียบหลับไป” ความระหกระเหินหลังชีวิตยืนยาวของพ่อจบลงแบบนั้น มาลินไม่ได้เห็นเอง ได้ยินแต่คำบอกกล่าวเรียบราบจากพยาบาล
เทียบกับลูก ๆ ทั้งหกใคร ๆ ก็ว่ามาลินคือ “‘ลูกพ่อ”’ มาลินเชื่อว่าพ่อรักชีวิต สองคนพ่อลูกเทียวเข้าออกโรงพยาบาลมาด้วยกันไม่เคยขาด แต่พอถึงห้วงเวลาสำคัญที่พ่อต้องการแต่เธอคนเดียวมาลินกลับไม่ได้อยู่ตรงนั้นด้วย เธอมองว่าคือความล้มเหลวของหน้าที่ผู้ดูแลที่เธออุทิศทุ่มเททำมายาวนาน และเป็นความทรงจำที่ทิ่มแทงหัวใจให้รวดร้าวทุกคราวที่คิดถึง
สาวน้อยมาลินผู้เคยสดใสที่ใครทั้งโลกหน้าจอเห็น ไม่เหลือเค้ารอยเดิมในโลกของความจริงวันนี้อีกต่อไปแล้ว ในวันวัยที่ผ่านกาลเวลาห้าทศวรรษ ร่างกระทัดรัดบางอรชรปราดเปรียวกลายเป็นอวบท้วมเชื่องช้าสองแก้มขาวผ่องยองใยอย่างสาวน้อยลูกจีน วันนี้ไร้สีสันที่เคยแต่งแต้มแบบสาวรักสวยรักงาม ที่เคยเป็น ใบหน้าหม่นซูบมีรอยร่องไว้บรรจุความทุกข์ตรมที่ผ่านเข้ามา ผมละเอียดเส้นตรงดำขลับเงาระยับทิ้งยาวถูกตัดสั้นแค่คาง เส้นแห้งกร้านแซมดอกเลาตลบขึ้นค้างบนกระหม่อมด้วยกิ๊บพลาสติกดำยาวตัวเดียว ปาดชายที่เหลือเหน็บหูง่าย ๆ ชุดเดรสเก๋ไก๋ถูกแทนด้วยเสื้อยืดคอกลมสีหม่นตัวโคร่งกับกางเกงฝ้ายสีดำขายาวหลวม ประกายวาววับล้อแสงในตาคู่นั้นเหือดแห้ง คลอน้ำฉ่ำแดงบางเวลา เช่นเวลานี้ที่เธอหวนคิดถึงการตายของพ่อ และหัวใจเธอมุ่งมั่นว่าจะต้องไม่เกิดแบบเดียวกันกับแม่อีกคน
งานศพพ่อยังไม่ทันพ้นเดือน ข่าวร้ายเข้ามาซ้ำครอบครัวของมาลินอีกครั้ง มะเร็งปอดของแม่ที่พาไปรับเคมีบำบัดและฉายแสงจากโรงพยาบาลใหญ่ในเมืองมาตลอดปี บัดนี้โรคไม่ตอบสนองต่อการรักษา และลุกลามไปยังปอดข้างที่เหลือ แม่ต่างจากพ่อตรงที่ยังมีอารมณ์ขันได้ในยามป่วยไข้ กับโรคเบาหวานแม่ดูแลตัวเองได้ดีมาตลอด พอเป็นมะเร็งแม่ใจเสียในวันที่ได้ยิน แต่ก็เดินหน้ารักษาตามที่คุณหมอแนะนำ ไม่นานใจแม่ก็กลับมาเป็นแม่คนเดิมผู้มีช่วงเวลาอารมณ์ดี ยังพูดหยอกเย้าให้ลูกมีรอยยิ้มได้บ้าง
หมอว่าอย่างไรลูกว่าอย่างไรแม่เอาตามนั้น แม่ไม่เคยปริปากคร่ำครวญ เว้นแต่อาการของโรคจะแสดงออกมาเอง วันที่หมอบอกว่ารักษาตัวโรคไม่ได้แล้ว แต่ยังมีการรักษาเพื่อบรรเทาอาการรบกวนได้ แม่ทวนถามคุณหมอคำเดียวว่าไม่มีทางรักษาอื่นจริง ๆ หรือ แล้วก็เงียบไปหลังฟังคำตอบ ลูก ๆ กังวลว่า แม่จะหมดกำลังใจ แต่สุดท้ายแม่ว่าแม่รู้ตัวของแม่เอง และยังมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์แม้ต่อมาเหนื่อยง่ายขึ้น มีแต่มาลินที่แผลใจจากการตายของพ่อทำให้เธอตื่นตระหนกกับทุกอาการที่เกิดกับแม่ เมื่ออยู่ลำพังกับแม่ที่บ้าน มาลินเฝ้าจับจ่อและมองเห็นแต่ความน่าห่วงกังวล บ่อยครั้งเธอมักโทรให้น้องชายคนใดคนหนึ่งกลับบ้านมาพาแม่เข้าโรงพยาบาลเดี๋ยวนั้น เธอเปลี่ยนโรงพยาบาลใหม่หากยังรู้สึกไม่สบายใจ
ร่วมสองเดือนที่พ่อจากไป มาลินเหลือแต่การดูแลแม่เพียงคนเดียว แทนที่เธอจะเบาแรงลงและได้ผ่อนพักบ้าง แต่กลับเป็นว่าเธอหันมาจดจ่อกับแม่มากขึ้น แม่วนเข้าออกโรงพยาบาลบ่อยขึ้น กลับไปก่อนถึงวันนัดและมักเป็นห้องฉุกเฉิน บางครั้งแม่นอนหลายคืนในโรงพยาบาล ที่ห้องรวมเฝ้าไม่ได้มาลินก็นั่งรออยู่ด้านนอกจนถึงเวลาเยี่ยมทั้งรอบกลางวันและรอต่อถึงรอบเย็น มาลินเคยรอหน้าห้องฉุกเฉินจนถึงตีสาม
นาน ๆ ทีแม่จะได้นอนห้องเดี่ยวที่มาลินได้นอนค้างด้วย สำหรับผู้ป่วยในมีหมอเข้ามาเยี่ยมทุกวันและมีพยาบาลคอยดูแลเรื่องที่มาลินเคยทำที่บ้านให้เกือบทุกอย่าง แต่มาลินก็ใช่ว่าจะสบายดีกับการนอนบนโซฟาเล็ก ๆ เธอลืมตาตื่นตลอดที่พวกเขาเข้ามาในห้องและเปิดไฟดูแม่ แต่ถึงกระนั้นมาลินก็ยังวนเวียนพาแม่เข้าโรงพยาบาลถี่ ๆ ด้วยความกังวล...ของมาลิน
ถ้าแม่อยู่บ้านมาลินต้องคอยวัดไข้ วัดความดัน และเจาะน้ำตาลเอง...ดูผลเอง ซึ่งใจลึก ๆ ของมาลินก็พรั่นพรึง เธอได้ยินคุณหมอติดเชื้อว่าการติดเชื้อในกระแสเลือดครั้งล่าสุดทำให้ค่าน้ำตาลของแม่คุมยากกว่าแต่ก่อน หมอมะเร็งบอกว่ายาบางตัวที่แม่ได้ตอนไปรับยาเคมีอาจทำให้น้ำตาลขึ้น มาลินจึงคอยระวังและจดมาให้หมอดู ก่อนนี้มาลินเป็นคนกลัวเลือดกลัวเข็ม ถึงได้เลือกเรียนภาษาและมาเป็นครู ตอนพ่อรักษาเบาหวานก็เจาะน้ำตาลเฉพาะเวลาไปโรงพยาบาล แต่นี่เธอต้องจิ้มเข็มลงปลายนิ้วแม่ที่บ้านทุกวัน พร้อม ๆ กับระวังเรื่องไข้ขึ้นหลังรับยาเคมี มาลินต้องรู้ทั้งเรื่องไข้และเรื่องค่าน้ำตาล แค่ไหนถึงเรียกว่าสูง สูงเท่าไหร่แล้วต้องทำอย่างไรต่อ มาลินเคยเจาะได้ผลออกมาสี่ร้อยกว่าแล้วรีบป้อนยาเม็ดให้แม่กิน ไม่นานก็เจาะวัดอีกที เลขค่าน้ำตาลยังไม่ลดมาลินให้กินซ้ำอีกเม็ดก็แล้วเจาะดูใหม่ก็ยังไม่ลด สองคนกับแม่อยู่บ้านแบบต่างคนต่างกลัว แต่ดูมาลินจะกลัวมากกว่าแม่ สุดท้ายจบลงด้วยมาลินพาแม่มาโรงพยาบาลทุกที
เข้าโรงพยาบาลครั้งหลัง ๆ แม่พูดกับลูกอย่างจริงจังว่าแม่พอแล้วกับชีวิตที่ผ่านมา และพร้อมถ้าจะต้องตาย พ่อก็ตาย แม่บอกหมอด้วยตัวเองเสมอถึงวาระสุดท้ายแบบที่ต้องการ ขอเพียงอย่าเจ็บปวดทรมาน ขอให้ไปอย่างสงบ แต่สำหรับมาลิน การตายของพ่อยังตามทิ่มแทงใจ ให้สะดุ้งผวากับทุกอาการที่เกิดขึ้นของแม่ แม่ไอดังเธอก็กังวล แม่หลับเงียบนานกว่าเคยเธอก็พาแม่เข้าโรงพยาบาลอีก
“คุณจะพาคนไข้กลับมาทำไมอีกเนี่ย แบบนี้ไม่ใช่เรื่องฉุกเฉิน คนไข้นอนโรงพยาบาลสามอาทิตย์ ยาเยอก็ให้ทุกอย่างแล้ว ผลเลือดก็ดีหมดทุกอย่าง นี่เพิ่งออกจากโรงพยาบาลไปคืนเดียวกลับมาอีกแล้ว จะเอามาให้ทำอะไรอีกล่ะ”
เสียงสูงรัวยาวดังลั่นใส่หน้า เมื่อมาลินกับน้อง ๆ พาแม่มาส่งที่ห้องฉุกเฉินอีกครั้ง เธอมาที่นี่ด้วยความเหนื่อยล้าหาที่พึ่ง เจอแบบนี้เข้าก็ระเบิดเสียงโฮลั่น ต่อหน้าผู้คนหน้าห้องฉุกเฉิน อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน ด้วยไม่สามารถสรรหาถ้อยคำ เพื่อสื่อความรู้สึกท่วมท้นออกมาให้ใครเข้าใจได้ว่า นาทีนั้นเธอไม่มีเรี่ยวแรงพอแบกรับแม้แต่ฟางอีกเส้นเดียว เหมือนทำนบแตก มาลินพรั่งพรูอารมณ์ความรู้สึกที่อัดแน่นอยู่ในใจมานาน กราดเกรี้ยวบอกความไม่พอใจในสถานะของตนเอง ที่การไม่ต้องออกไปทำงานของเธอ ถูกให้ความหมายว่าคือ “‘คนว่าง”’ ที่เป็นถังรองรับทุกอย่าง จากทุกคน
เสียงร้องเกรี้ยวกราดสะอึกสะอื้นเป็นจุดเริ่มให้ใคร ๆ ต่างหันมามองมาลินเป็นครั้งแรก น้องชายคนหนึ่งที่เคยแต่ยืนอยู่ข้างหลังมาตลอด เดินเข้าไปคุยกับหมอพยาบาลแทนมาลินเป็น ครั้งแรก น้องชายอีกคนกับน้องสะใภ้เข้ามาปลุกปลอบมาลิน เป็นครั้งแรกอีกเช่นกัน
มาลินเองเมื่อตั้งสติได้ เธอมองเห็นใครอีกคนที่ถูกละเลย ไร้การเหลียวแล คนนั้นคือตัวของเธอเอง ที่ควรเป็นคนแรกที่มาลินมีหน้าที่ต้องฟูมฟักดูแลให้ดี เพื่อมีพลังสำหรับทำสิ่งอื่น ๆ ต่อไป
ก็จริงอย่างที่คุณหมอเขาพูด สิ่งแรกที่เธอทำมาตลอดโดยไม่ต้องคิด คือการพาแม่เข้าโรงพยาบาลทันที จนแม่นอนโรงพยาบาลมากกว่าบ้าน ทั้งที่แม่บอกว่าอยากอยู่บ้าน เหมือนเหตุการณ์จากห้องฉุกเฉินวันนั้นกระชากมาลินให้ตื่นตาสว่าง
ภาพต่าง ๆ เลื่อนเข้ามาในห้วงคำนึง นับแต่วันที่หยุดทำงาน รายได้เลี้ยงตัวจากความสามารถและหมายถึงศักดิ์ศรีของมาลินก็หยุดไปด้วย กระทบจิตใจสะสมมากับเรื่องอื่น ๆ จนเธอจับต้นชนปลายไม่ถูก มาลินเลือกเริ่มต้นที่การเข้าพบจิตแพทย์ เธอได้ทั้งยาต้านเศร้าและคำปรึกษาจากนักวิชาชีพ มาลินหันมองชีวิตด้วยสายตาใหม่ เธอต้องการชีวิตในแบบที่เธอเองยอมรับได้ และรู้ว่าคนที่จะพูดเพื่อเธอ คือตัวของเธอเอง บางทีมาลินก็อดคิดไม่ได้ว่า เธอเองก็มีส่วนอนุญาตให้ชีวิตเป็นแบบนั้นเองด้วย วันนี้มาลินเรียนรู้ ที่จะส่งเสียง บอกความรู้สึกที่แท้จริงไม่เก็บกัก เธอบอกความต้องการ เธอปฏิเสธ ต่อรอง จากเริ่มด้วยเสียงสั่น ๆ หวั่นในใจของคนไม่เคยทำเพื่อตัวเองมาก่อนแต่เธอยืนหยัด
มาลินสามารถพูดในวันที่รู้สึกว่าไม่พร้อม ไม่ไหว บอกความต้องการความช่วยเหลือ เธอไม่เลื่อนนัดตรวจฟันเพื่อเฝ้าแม่เหมือนที่เคย ออกไปเดินเล่นห้างสรรพสินค้าโดยไม่ต้องมีธุระจริงจัง
“จะเป็นอย่างไรถ้าวันที่เราออกจากบ้านไปแล้วเกิดเรื่องวิกฤติกับแม่ ตอนที่เราไม่ได้อยู่ด้วย”’ คำถามนี้เริ่มผุดขึ้นมาในใจบ่อยครั้งในตอนหลัง ๆ เย็นนี้มาลินในชุดออกกำลังกาย ใบหน้าชื้นเหงื่อเพิ่งเดินกลับเข้าบ้านหลังออกไปวิ่งเบา ๆ ที่สวนสาธารณะเหมือนทุกเย็น เธอผ่อนลมหายใจยาว หย่อนตัวบนเก้าอี้สนามหน้าบ้านเงียบ ๆ สายตาเหม่อมองแจกันดอกไม้สวยแปลกตา ผลงานจากกลุ่ม “‘ดอกไม้จัดใจ” ’ที่เธอกำลังฝึก
ใจหวนคำนึงถึงเส้นทางชีวิตที่ผ่านมา ถ้าไม่นับเช้ามืดวันนั้น เธอก็ตัวติดอยู่กับพ่อแทบตลอดเวลา เธอพาแม่เข้าออกโรงพยาบาลครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะอยากให้แม่ “‘‘ได้อยู่ใกล้ ๆ หมอ”’’
สองสามเดือนของแม่ก็คือเวลาของมาลินคู่ขนานไปด้วยเช่นกัน ภาพตัวเองตอนนั่งหน้าห้องรอเยี่ยมแม่แล้วเห็นคนนั่งร้องไห้ พาใจมาลินให้จินตนาการถึงแม่ที่นอนอยู่ข้างในห้องเดียวกันกับเขา ภาพแม่นอนกองสลบไสลบนผ้าปูที่นอนสีขาวซ้อนกันสองสามชั้นยับยู่ยี่ ภาพสองแขนแม่มีก้อนสำลีสีขาวแปะกระจายหลายจุด สายน้ำเกลือไปเสียบที่อยู่ขาแม่ “ ‘‘คนไข้หาเส้นยาก”’ ’คือคำอธิบายที่มาลินได้ยินซ้ำ ๆ จนเห็นความทุกข์ทั้งของแม่และของคนทำงาน
เป็นสองสามเดือนที่มาลินสามารถอดทนยืนข้างเตียงคนไข้ที่ไม่มีเก้าอี้นั่งให้ เพราะอยากอยู่ใกล้แม่ มาลินทำใจเพราะพื้นที่ต้องมีไว้วางอุปกรณ์ช่วยเหลือแม่ก็เห็นอยู่ ในห้องรวมที่แม่นอนเห็นประตูทางเดียว หน้าต่างทุกบานเหมือนปิดตาย ผนังห้องสีฟ้าเทาหม่นทึบทุกทิศทาง ไม่เคยเห็นแสงเดือนแสงตะวันลอดเข้ามา แม่คงไม่รู้วันรู้คืนด้วยแสงจากหลอดนีออนยาวสว่างจ้าสาดไปทั่ว ตลอดทั้งวันทั้งคืน มาลินมองไปเห็นแต่สิ่งของเกะกะกระจัดกระจายคนละทิศละทาง
และแม่คงได้ยินทั้งวันทั้งคืน เหมือนที่มาลินได้ยินตลอดสองชั่วโมงที่เข้ามายืนข้างเตียงแม่ เสียงดังบรรเลงตลอดทั้งจากคนเข็นรถเข้ามาแจกยาฉีดยาเป็นช่วง ๆ เสียงคุณหมอ คุณพยาบาลเข้ามาเยี่ยมไข้เตียงนั้นที เตียงโน้นที เสียงเขาคุยกันเอง คุยกับคนไข้ คุยกับญาติ ท่ามกลางภาพสีแดงประหลาดของถังขยะปลายเตียงทุกเตียง ขนาดของมันใหญ่เกือบเท่าถังที่มาลินตั้งหน้าบ้าน อันที่จริงมาลินก็แข็งแรงดีไม่เจ็บไม่ไข้มาก่อนนอกจากใจที่ห่วงกังวลกับแม่ แต่ภาพ เสียง และกลิ่นรอบตัวชวนหดหู่จนบางครั้งมาลินรู้สึกผะอืดผะอม “‘เขามีเตียงให้แม่เรานอนก็ดีแล้ว”’ มาลินรำพึงกับตัวเองแล้วเข้าไปลูบหน้าในห้องน้ำผู้ป่วย ก่อนกลับมายืนข้างเตียงแม่อีกครั้ง
“Bleeding Precaution” ตัวอักษรสีขาวบนแผ่นพลาสติกสีแดงขนาดสองคืบที่วันนี้เพิ่งเห็นแขวนหัวเตียง ซ้อนต่อ ๆ กับป้ายห้าม ป้ายระวัง ป้ายคำสั่ง ป้ายคำเตือนและป้ายอื่น ๆ คุณครูมาลินสอนภาษาอังกฤษแต่ก็ไม่เข้าใจจึงไม่ค่อยสบายใจ เกิดอะไรขึ้นกับแม่ถึงมีป้ายนี้เพิ่มมา เจ้าหน้าที่ชุดเดิม ๆ ที่สลับเปลี่ยนเวรกันไปมา ชุดนั้นขึ้นชุดนี้ลง บางคนหน้ายิ้ม บางครั้งหน้าเหนื่อย มาลินต้องคอยคิดก่อนว่าจะถามอะไรกับใครตอนไหนดี
วันหนึ่งมาลินยืนเงียบ ๆ มองแม่หลับตาหายใจสม่ำเสมอ กับสายออกซิเจนเสียบเข้ารูจมูกสองข้าง เธอไม่สบายใจกับเส้นกราฟยึกยือบนจอแขวนลอยเหนือหัวเตียงแม่ ที่บางครั้งส่งเสียงแปลก ๆ ขึ้นมา แล้วก็เงียบไป จนแม่ลืมตาขึ้นมาเมื่อผู้ป่วยชายชราเตียงเว้นไปส่งเสียงเพ้อตะโกนด่าทอใครสักคนอยู่ในความหลับไหล มาลินได้แต่ลูบผมแม่เบา ๆ ปลอบใจ ลืมไปชั่วขณะว่าแม่กำลังติดเชื้อดื้อยา แล้ววันนั้นแม่ก็ไม่หลับอีกเลย แม่จะหลับอย่างไร ในห้องรวมที่มองไปทางไหนก็เห็นแต่ความรกเกะกะและผู้คนสีหน้าทุกข์ทนมานส่งเสียงร้องโอดโอย หญิงชราเตียงตรงข้ามไอแรงมีเสมหะ จนกลัวจะกระเด็นมาถึงแม่ แล้วแม่ แล้วเสียงแหลมตื๊ดดังแหวกขึ้นมาจากเครื่องที่พันแขนแม่ก็ปลุกมาลินตื่นจากพะวังและสบตากับแม่ เดี๋ยว ๆ เตียงอื่นก็ดังแบบนี้ สลับกันบ้างพร้อมกันบ้าง ไม่ต้องมีใครทำอะไรก็เงียบไปเองแล้วก็ดังขึ้นมาใหม่ มาลินทอดถอนใจแล้วบอกตัวเองว่านี่คือที่ที่มาลินเอาชีวิตแม่มาฝากไว้ “ได้อยู่ใกล้ ๆ หมอ”
“พาแม่กลับบ้านเรานะ” แม่สบตาอ้อนวอนมาลิน บอกคำขอเดิมทุกครั้งที่ตื่นมาพบว่านอนอยู่ในโรงพยาบาล ในที่สุดลูก ๆ เคารพการตัดสินใจของแม่
แม่กลับมาพักที่บ้านอย่างรู้สึ
สามเดือนต่อมามาลินก็กลับมายืนที่หน้าเมรุหลังเดิมนี้อีกครั้ง ต่างกันที่เย็นนี้เธอดูสงบนิ่ง ใบหน้าเงยขึ้นส่งสายตาจับที่ปลายปล่องไฟ “ถึงเวลาของแม่แล้ว” เธอรำพึงบอกตัวเอง ไร้รอยน้ำตาหรือแววโศกอาดูรเหมือนมาลินในวันที่ร่างบนเมรุนี้คือพ่อ
งานของแม่จัดเรียบง่าย แขกเหรื่อเป็นชุดเดียวกับที่มางานพ่อ บางตาลงบ้างเพราะลูกๆ ส่งข่าวเฉพาะคนใกล้ชิดกับครอบครัว เมื่อครู่เธอกุลีกุจอกล่าวขอบคุณและเดินส่งพวกเขาขึ้นรถ กระฉับกระเฉงคล่องแคล่ว เหมือนชีวิตเริ่มกลับคืนมาแล้ว
“แม่จะต้องไม่ตายแบบเดียวกับพ่อ” การจากไปของพ่อหลังสามปีที่เธอเข้ามาดูแลเต็มตัวกระทบใจเธอรุนแรงนัก
พ่อตรวจพบเบาหวานตามหลังแม่นานหลายปี แต่เส้นทางชีวิตผู้ป่วยของพ่อระหกระเหิน จนวันหนึ่งก็เกิดเหตุ พ่อหมดสติที่บ้านขณะอยู่ลำพังกับแม่ เพื่อนบ้านเรียกรถฉุกเฉินนำส่งโรงพยาบาลทันอย่างหวุดหวิดก่อนที่ลูกๆ จะตามไปทีหลัง ทางโรงพยาบาลบอกว่าค่าน้ำตาลของพ่อตอนนั้นสูงระดับที่อาจคุกคามถึงชีวิต
ในขณะที่แม่เดินไปศูนย์สุขภาพใกล้บ้านเอง ตรงตามวันนัด พบหมอ รับยา และสนุกกับกลุ่มเรียนรู้เรื่องการดูแลตนเองกับเพื่อนผู้ป่วยเบาหวานด้วยกัน แต่หมอของพ่อบอกว่าต่อไปขอให้มีญาติมากับคนไข้ด้วยทุกครั้ง ซึ่งจะเป็นใครอื่นไปไม่ได้นอกจากเธอ ที่เป็นลูกสาวคนโตและคนเดียวของบ้าน ในบรรดาลูก ๆ หกคน จากวันนั้นมาลินก็ไปกับพ่อไม่เคยขาด บ่อยครั้งที่หมอให้พ่อออกจากห้องตรวจก่อน เหลือแต่มาลินอยู่ต่อเพื่อคุยเพิ่มอีก ซึ่งเป็นรูปแบบการคุยที่ คุณหมอเป็นฝ่ายพูดเกือบตลอด มาลินเป็นแต่เพียงผู้รับฟัง
หมอหนุ่มท่าทางใจดีคนนี้มาดูแลพ่อต่อจากหมออาวุโสคนเดิมที่ย้ายไปรับตำแหน่งที่อื่น ใจจริงพ่ออยากย้ายโรงพยาบาลตามไปรักษากับคุณหมอต่อด้วย พ่อว่าตอนพบกันครั้งแรกคุณหมอคนใหม่จ้องดูประวัติหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่นานก่อนจะพูดกับพ่อเรื่องค่าไต และเขียนใบส่งพ่อไปนัดตรวจ จอประสาทตากับหมอเฉพาะทางและให้ไปทำนัดตรวจเท้าอีกแผนก คุณหมอบอกมาลินว่าพ่อไม่ได้ไปตามนั้น และเธอได้รู้ว่าพ่อเริ่มมีภาวะไตวายจากผลแทรกซ้อนของเบาหวานและควรจะมีคนมาช่วยดูแล ซึ่งพอพ้นหลังหมอพ่อก็บอกมาลินว่าพ่อมาถึงโรงพยาบาลตั้งแต่เช้าและรอคิวเข้าตรวจนาน จนเพลียเกินกว่าจะเดินงก ๆ เงิ่น ๆ ข้ามไปอีกสองตึกเพื่อติดต่ออีกสองเรื่อง
คุณหมอพูดเสียงนุ่มนวลฟังง่าย ๆ แต่สำหรับมาลินรู้สึกว่าเนื้อความมีหลายเรื่องและยาวมาก ทุกเรื่องสำคัญต่อชีวิตของพ่อ หมอบอกว่าตั้งแต่พ่อรักษาเบาหวานมา ค่าน้ำตาลไม่เคยคุมได้เลย จึงบอกมาลินให้รับรู้และมาดูแลพ่อที่บ้านต่อ มาลินได้แต่นิ่งฟังสิ่งที่คุณหมอคาดหวังว่าจะเห็นในนัดครั้งต่อไป
ก็มีตอนที่เธอน่าจะเป็นฝ่ายได้พูดบ้าง คือช่วงที่หมอมีคำถาม เช่นถามมาลินว่าทำไมน้ำตาลพ่อไม่ลดเสียที เป็นคำถามซึ่งเธอไม่แน่ใจว่าจริง ๆ แล้วใช่คำถามหรือเปล่าจึงไม่ได้ตอบ ได้แต่ยิ้มแห้ง ๆ พยักหน้ารับเมื่อคุณหมอกำชับเรื่องจัดยาและดูให้พ่อกินให้ตรงขนาดยาที่ปรับใหม่และตรงตามเวลาที่ถูกต้อง เรื่องอาหารที่บางอย่างห้ามพ่อกินมาก บางอย่างให้แค่ชิมคำเดียว แทบไม่มีอย่างไหนที่พ่อสามารถกินได้ตามใจอยากเหมือนเคย ยังมีเรื่องการสังเกตภาวะน้ำตาล ทั้งสูงและต่ำเกินปกติ มิเช่นนั้นพ่ออาจไม่โชคดีรอดชีวิตเหมือนคราวที่ผ่านมา
บางครั้งพอออกจากห้องหมอ พ่อก็ฉุนเฉียวใส่มาลินที่ต้องรอตรวจนานจนหิว หรือกระทั่งเรื่องเครื่องปรับอากาศที่เย็นจัดก็ทำท่าฟึดฟัด บรรยากาศพ่อลูกกรุ่นระอุตั้งแต่ยังไม่พ้นประตูโรงพยาบาล พาพ่อนั่งแท็กซี่กลับมากินข้าวกลางวันที่บ้านก็บ่ายแล้ว
“อย่ามายุ่งกับกู ปล่อยกูตาย กูอยากตาย” มาลินไม่รู้ว่าพ่อเข้าใจความตายว่าอย่างไร พ่ออยากตายจริงหรือว่าพูดด้วยความไม่สบายตัว และพ่อเริ่มเงอะงะไม่คล่องแคล่วดังใจเหมือนเดิม พ่อไม่พูดแบบนี้กับลูก ๆ คนอื่น และไม่พูดกับหมอพยาบาล ที่โรงพยาบาลพ่อเป็นคนไข้ที่เงียบขรึมขี้เกรงใจ เหมือนคนไข้อื่น ๆ หน้าห้องตรวจนั่นแหละ พ่อพูดเฉพาะกับเธอ
หลัง ๆ พ่อสวนกลับมาทุกครั้งตอนที่มาลินชวนคุยเรื่องที่รับปากจากคุณหมอมา เรื่องไปตรวจตา ตรวจเท้า เรื่องการฟอกไตหรือเรื่องอะไรพ่อก็หงุดหงิดไปหมด บ่ายนี้พอทำอาหารแบบที่เธอเรียนจากคลินิกเบาหวานมาตั้งให้กิน พ่อก็เหวี่ยงอารมณ์ใส่
ยามรื่นรมย์พ่อก็มาเล่ากับมาลินทีหลังว่าที่ไม่ได้กินยาตามที่หมอปรับขนาดเพิ่มขึ้นให้ เพราะตัวอักษรบนฉลากหน้าซองยาเล็กเกินสายตาพ่อ และยาเบาหวาน “‘Metformin” ’ในห่อฟอยล์ลอยด์ผนึกแน่น มือสั่น ๆ ของพ่อแกะไม่ถนัด บางมื้อพ่อทำกระเด็นหลุดมือและหาไม่เจอแต่ไม่กล้าบอกใคร
ทุกวันมาลินอยู่กับอารมณ์เหวี่ยงขึ้นลงของผู้ป่วยชราถูกขัดใจ ที่ไม่คิดว่าจะมาเปลี่ยนชีวิตในวันที่อยู่กับโลกมาร่วมร้อยปีแล้ว
เมื่ออยู่บ้านกับแม่ พ่อคือผู้จุดชนวนก่อความเดือดตั้งแต่สมัยยังไม่ป่วย และอุณหภูมิของบ้านยิ่งพลุ่งพล่านเมื่อความเจ็บไข้ของพ่อหนักขึ้น ซึ่งแม่ก็ส่งเสียงสู้พ่อ ไม่ยอมแพ้แม้แต่เรื่องเล็กน้อย เช่น พ่อรดน้ำต้นไม้แฉะเกินไปทั้งบ้านก็จ้าละหวั่นได้ และนั่นคือสิ่งรายล้อมชีวิตของ มาลิน ตลอดเวลาตั้งแต่เธอลืมตาตื่นจนเข้านอนหลับไป ต่อเนื่องยาวนานนับแต่วันที่เธอหยุดชีวิตแบบเดิมมาเป็นผู้ดูแลพ่อเต็มเวลา
ถ้ามีใครสักคนที่บ้านถามถึงการไปหาหมอกับพ่อ ที่ฟังหมอพยาบาลมาเยอะแยะแต่พอมาเล่าแล้วกลับเหลือนิดเดียว ตอนฟังเหมือนจะเข้าใจแต่มาลินก็จำมาได้แค่นั้น คำถามที่พวกเขาถาม มาลินก็ตอบได้บ้าง ตอบไม่ได้ก็เยอะ เช่นถามว่ามาลินไปกับพ่อแล้วได้บอกหมอเรื่องยาสมุนไพรหรือไม่ ได้ถามหมอเรื่องยาต้มรากไม้ที่โส่ยเจ็กน้องชายพ่อเอามาให้หรือเปล่า ทำไม มาลินเจอหมอแล้วไม่ถามเรื่องยาแคปซูลที่เพื่อนพ่ออุตส่าห์เอามาให้ด้วย มาลินได้แต่เงียบ รู้สึกเหมือนที่ทำมาทั้งหมดนั้นยังไม่พอ ในสายตาของคนอื่น ๆ
พ่อกับแม่อันที่จริงน่าจะเป็นผู้ชราที่ไม่โชคร้ายนัก สมัยที่ยังเป็นหนุ่มสาวเริ่มตั้งครอบครัวก็แข็งแรงดีกันทั้งคู่ ไม่เคยเจ็บหนักถึงขนาดต้องนอนโรงพยาบาล มีกิจการเล็ก ๆ เลี้ยงลูก ๆ โตมาได้ ไม่เกเรเป็นภาระครอบครัวหรือสังคม ส่งเรียนจบมีงานการทำเอาตัวรอดกันได้ทุกคน สี่ห้าปีก่อนที่ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าของพ่อในตึกแถวที่ตลาดประจำอำเภอปิดตัวลง ครอบครัวย้ายออกมาหาที่อยู่ใหม่ ลูกชายคนโตมีการเงินแข็งแรงกว่าพี่น้องคนอื่น ๆ ก็ซื้อบ้านเดี่ยวขนาดสบาย ๆ ให้พ่อแม่ได้ใช้ชีวิตบั้นปลายในที่โล่ง ๆ บ้าง และมาลิน ผู้เป็นสาวโสดก็ตามมาอยู่บ้านหลังนี้ด้วยเพื่อดูแลพ่อแม่ น้อง ๆ ผู้ชายแม้จะแยกย้ายออกไปตั้งครอบครัวใหม่กันตามวิถี แต่พวกเขาก็ส่งเสียเงินทองให้พ่อแม่ใช้อย่างสบาย และหาเวลาแวะมาเยี่ยมบ้างตามที่ชีวิตพวกเขาจะอำนวย ซึ่งพอลูกมาเยี่ยม ทั้งพ่อทั้งแม่ต่างคนต่างมีเรื่องฟ้องกันเป็นปกติ
ลูกทุกคนดูแลพ่อแม่กันในแบบของตนซึ่งแตกต่างกันไป พอถึงคราวพ่อป่วยหนักแบบนี้ พวกลูก ๆผู้ชายก็จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือที่ต้องใช้ส่งมาให้ ที่บ้านมีแทบครบ ดังนั้นมาลินในฐานะลูก อีกคนหนึ่ง โดยเฉพาะเป็นลูกสาว หน้าที่ดูแลปรนนิบัติเป็นของเธอก็เหมาะสมที่สุดแล้ว
แม้เธอจะรู้สึก แต่มาลินก็คุ้นชินดีกับสถานะ “‘ลูกสาวต้องต่อท้ายแถว”’ บ้านไหน ๆ ทั้งตลาดที่เธอเติบโตมาก็เป็นแบบนี้หมด และถึงอย่างไรเธอก็ดีกว่าอีกหลายลูกสาวในตลาดเดียวกัน ตรงที่ไม่ต้องรับอยู่โยงเฝ้าร้านต่อจากพ่อแม่ที่แก่ลง เธอได้เรียนวิชาที่ชอบ จบแล้วทำงานตามใจเลือกเอง งานครูสอนภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นประถมในโรงเรียนเอกชนเล็ก ๆ ของเธอเลี้ยงตัวเองได้ กับชีวิตที่ยังอาศัยอยู่ในห้องนอนเล็ก ชั้นสามของตึกแถว ร้านของพ่อแม่ซึ่งเธออยู่มาตั้งแต่เกิดจนโต ตอบแทนด้วยการดูแลงานบ้านที่เธอก็ถนัด เป็นชีวิตที่เธอมีพลังเหลือพอรับงานเสริมแปลบทหนังสนุก ๆ รับช่วงงานมัคคุเทศก์สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มเล็ก ๆ ต่อจากเพื่อนในยุคที่กิจการเฟื่องฟู เป็นครูอาสาสอนภาษาอังกฤษให้เด็ก ๆ ในชุมชนห่างไกลกับเพื่อน ๆ อีกกลุ่ม เธอสนุกกับชีวิตที่ได้ออกนอกนอกบ้านไปพบเจอผู้คนใหม่ ๆ มากมาย ในสังคมที่เธอได้เฉิดฉายความเป็นตัวเองอีกมุมที่พวกเขาเหล่านั้นให้คุณค่า
เส้นทางเสรีที่มาลินได้ขีดวาดชีวิตตัวเองมาหยุดลงเมื่อราวสามสี่ปีก่อน ก้าวออกมาเริ่มชีวิตบนถนนสายใหม่ ในฐานะผู้ดูแลหลักเต็มเวลาให้พ่อ จะว่าไปมาลินก็เริ่มต้นหน้าที่นี้ด้วยจังหวะของชีวิตบันดาล เมื่อระยะหลัง ๆ ครูมาลินขอเปลี่ยนตารางสอนเพื่อไปโรงพยาบาลกับพ่อบ่อยขึ้น ครูใหญ่บอกว่าเข้าใจ เพื่อนครูในห้องพักครูก็ว่าเข้าใจ แต่การสลับตารางสอนไปมาย่อมกระทบต่อตารางชีวิตทั้งเพื่อนครูด้วยกันและทั้งนักเรียน ไม่มีใครว่าให้เข้าหูแต่มาลินเริ่มรู้สึกอึดอัดเวลาเอ่ยปากอีก ประจวบการระบาดใหญ่ ของโควิดเข้ามากระทบชีวิตคนทั้งโลก งานครูที่โรงเรียน งานมัคคุเทศก์ กระทั่งกิจกรรมครูอาสาต้องหยุดไปหมดแบบไม่มีกำหนด รวมถึงอาการของพ่อที่เข้าสู่วาวะเปราะบางเต็มที เหล่านั้นคือจุดเปลี่ยน ที่มาลินมองไม่เห็นทางเลือกเป็นอื่น
ในวันนั้นไม่มีใครรู้ล่วงหน้าเลยว่า อีกไม่นานบ้านหลังนี้จะมีผู้ป่วยเพิ่มอีกคน คือแม่ที่ตรวจพบโรคมะเร็งปอดให้มาลินดูแลไปพร้อม ๆ กันกับพ่อ
เธอก็ไม่ขัดข้องแต่อย่างใดกับการใช้เวลากับพ่อแม่ สำหรับการดูแลบ้าน ดูแลอาหารการกินให้พ่อกับแม่ที่เริ่มชราและมีข้อจำกัดเรื่องสังขารตามวัย งานเพิ่มคือการพาพ่อไปโรงพยาบาล อยู่กับพ่อและรับฟังแผนการรักษาจากหมอ กลับมาบ้านก็จัดการให้วิถีชีวิตของพ่อเป็นไปตามแผนการรักษา ตั้งแต่เช้าพ่อลืมตาขึ้นมาจนถึงเข้านอน นั่นหมายถึงชีวิตของมาลินเองก็ต้องปรับเปลี่ยนจากเดิม มาเป็นวิถีใหม่เพื่อชีวิตพ่อ ไม่ใช่ช่วงสั้น ๆ นับเป็นวันเป็นเดือนแต่หมุนซ้ำร่องเดิมแบบนี้ไปนานปี จะมีที่ไม่ซ้ำคืออาการของพ่อ ที่หนักขึ้น ๆ พ่อขาบวม แน่นท้อง เพลียซึม ปวดหลัง ลุกเข้าห้องน้ำกลางคืนบ่อย บางวันน้ำตาลต่ำ ต้องพาส่งโรงพยาบาลถี่ขึ้น จากไปตามวันนัดเพิ่มเป็นเข้าห้องฉุกเฉิน และหลายครั้งที่ต้องนอนเป็นผู้ป่วยใน
การเข้าโรงพยาบาลในช่วงที่โควิดระบาดเป็นความทุลักทุเลซ้ำซ้อนเพิ่มไปอีก ทั้งตัวพ่อและ ตัวมาลิน และทุกครั้งที่พาพ่อไปเธอต้องรับฟังเรื่องของพ่อที่หนักหน่วงเพิ่มขึ้น ๆ มาลินต้องคิด ต้องตัดสินใจและให้คำตอบเรื่องทางเลือกในการรักษา ที่หมอถามหลายครั้งแล้ว ซึ่งไม่ว่าเลือกทางไหนไป มาลินก็ต้องรับผิดชอบกลับมาอธิบายทำความเข้าใจกับคนที่ไม่ได้ไปโรงพยาบาลกับพ่อด้วย
พอโควิดเริ่มซา ญาติ ๆ ของพ่อมาเยี่ยมที่บ้านบ่อยขึ้น ต่างคนต่างมาพร้อมความรักความปรารถนาดี พวกเขาซักถามมาลินมากมาย พอตอบคำถามนี้ได้ก็มีคำถามใหม่ส่งมาอีกเรื่อย ๆ พากันแนะนำการรักษาทางเลือกแปลก ๆใหม่ ๆ ให้พ่อ ครั้งหนึ่งหยี่โกน้องสาวพ่อเอายาสมุนไพรแคปซูล ที่ได้จากร่างทรงที่พ่อนับถือมายัดใส่มือมาลิน บอกว่าไม่อันตรายเพราะเป็นสมุนไพรจากพืชสวนครัว กินแล้วช่วยขับปัสสาวะลดน้ำตาลได้ กำชับให้จัดให้พ่อกินทุกเช้า
ใครให้อะไรมาพ่อก็จะกินจนมาลินเอือมทั้งพ่อทั้งคนเอามาให้ ขอพ่อว่ากินแค่หนเดียวแล้วรอดูผลเลือดที่โรงพยาบาลวันไปตรวจตามนัด ครั้นพอถึงวันนัดกลับกลายเป็นว่าผลเลือดครั้งนั้นออกมาดีไปได้ พ่อก็หันมองมาลินอย่างผู้ชนะ จนคุณหมอต้องออกปากว่ายาที่แบ่งใส่ถุงพลาสติกมาให้ดูนั้นหมอไม่รู้จักและไม่มีข้อมูล พอกลับมาบ้านพ่อก็รบเร้าจะกินต่อโดยอ้างผลเลือด จน มาลินเหลืออดบอกว่าถ้าพ่อเชื่อยาร่างทรง ก็งดนัดโรงพยาบาลครั้งต่อไป และรับแต่ยาร่างทรงแทน นั่นพ่อถึงยอมเลิกและไปตามนัดโรงพยาบาลต่อ แต่เมื่อเจ้าของยามาเยี่ยมซ้ำ ก็ถามมาลินว่าทำไมพาพ่อมารักษาแบบนี้ ทำไมไม่พาไปที่เขาไปกันแล้วหาย เธอรู้สึกเหมือนญาติ ๆ มาบ้านเพื่อมาติดตามงานเธอ จึงอึดอัดบ่อยครั้งที่รู้สึกสับสน ได้แต่เก็บทุกความคับข้องงรอไว้คุยกับหมอเมื่อถึงวันนัดครั้งต่อไป
เช็งเม้งมาถึง อาเจ็กน้องชายพ่อโทรมาแจ้งข่าวเหมือนทุกปี และบอกว่าการเดินทางไปสระบุรีไกลเกินไปและปีนี้อากาศร้อน อาจะจัดการเรื่องต่าง ๆ ให้พ่อเอง แต่พ่อว่าต้องไป อาจเป็นปีสุดท้ายในชีวิตพ่อ ก็เป็นความเหนื่อยใจที่มาลินต้องเผชิญอยู่คนเดียว พร้อมกันนั้นบ้านนี้ยังมีแม่อีกคน ผู้ป่วยมะเร็งที่เธอต้องดูแลและพาไปรับยาเคมีบำบัดอีกโรงพยาบาลทุกสามสัปดาห์
วันหนึ่งหลังจากพ่อขอไปร่วมวงคาราโอเกะกับกลุ่มเพื่อนเก่าชาวตลาด... ครั้งสุดท้ายในชีวิต พ่ออ้างแบบนี้อีกแล้ว ไปอยู่กันจนดึกกลับมาซมที่บ้าน มาลินนึกว่าพ่อจะได้บทเรียน แต่พอดูแข็งแรงขึ้นพ่อก็ขอไปสมุทรสงครามเพื่อเยี่ยมพี่ชายลูกพี่ลูกน้องที่คุ้นกันมาแต่เล็ก ๆ พอคุยกันติดลมพ่อขอนอนค้างและมาลินอยู่ด้วย ตกค่ำพ่อเหนื่อยเพลียตัวร้อน มาลินตัดสินใจเรียกรถฉุกเฉินโรงพยาบาลเอกชนใกล้ ๆ มารับ พ่อต้องนอนค้างเป็นผู้ป่วยใน เรื่องค่าใช้จ่ายนอกแผนการยังเป็นเรื่องรองจากที่มาลินรู้สึกว่าตนเองผิด อีกแล้วว ที่ตามใจพ่อจนเกิดเหตุ แม้ในที่สุดพ่อจะปลอดภัยกลับบ้านได้ แต่ลูก ๆ หวั่นใจกันไปหมด ดังนั้นตอนที่พ่อขอไปหาเพื่อนเก่าอีกคนที่สุพรรณบุรี ลูก ๆ จึงไม่พาไป พอคนอื่นกลับบ้านเขากันไปหมดพ่อก็มึนตึงใส่มาลิน
ผลตามมาจากเบาหวานทำให้ต่อมาพ่อมีอาการฝ่าเท้าชามากขึ้น เหยียบย่างสัมผัสต่าง ๆ ไม่เหมือนเดิม ความชาเพิ่มระดับจนพ่อเดินสะดุดบ่อยครั้ง เช้าวันหนึ่งไม่นานจากนั้น พ่อก้าวเหยียบบันไดขั้นสุดท้ายพลาดขณะกำลังเดินลงมาชั้นล่างหลังตื่นนอน ทรุดร่วงลงกองพื้นและเข้าโรงพยาบาลอีกครั้ง
พาพ่อไปตอนสาย ส่งเข้าเตียงผู้ป่วยในตอนบ่ายแล้วมาลินก็กลับบ้านไปดูแม่ จบมื้อเย็นพาแม่เข้านอน มาลินเองก็ผลอยหลับข้างมาลินเองก็ผล็อยหลับข้าง ๆ แม่ไปอีกคน ด้วยความเหนื่อยล้าทั้งกายและใจ
ความหน่วงตื้อค้างในหัว มาลินคิดว่านี่ก็เหมือนทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมา ส่งพ่อเข้าโรงพยาบาลแล้วมาลินกลับบ้านและวันรุ่งขึ้นก็มาเยี่ยมใหม่ พ่ออาจนอนหนึ่งคืน สองคืนหรืออาจหลายคืนก็เคย แต่สุดท้ายทางโรงพยาบาลก็โทรแจ้ง มาลินก็มารับกลับบ้าน ก็เป็นแบบนี้มาตลอด
ตีสี่คืนนั้นเธอตอบโทรศัพท์จากพยาบาลเวรดึกสั้น ๆ ด้วยความง่วงงุนแล้วหลับต่อ รุ่งขึ้นตื่นมาจัดการมื้อเช้าของแม่เรียบร้อยเธอจึงเข้าไปโรงพยาบาล
แต่คราวนี้ไม่เหมือนทุกที เช้านี้เตียงที่มาลินส่งพ่อเข้านอนเมื่อวานว่างเปล่า ผ้าปูสีขาวขึงตึง หมอนผ้าห่มวางเป็นระเบียบ เหมือนไม่เคยมีใครนอนมาก่อน และนั่นคือการพาพ่อมาส่งโรงพยาบาลครั้งสุดท้าย
“ทั้งคืนคนไข้ร้องเรียกแต่ชื่อลูกสาวคนเดียวซ้ำ ๆ จนเงียบหลับไป” ความระหกระเหินหลังชีวิตยืนยาวของพ่อจบลงแบบนั้น มาลินไม่ได้เห็นเอง ได้ยินแต่คำบอกกล่าวเรียบราบจากพยาบาล
เทียบกับลูก ๆ ทั้งหกใคร ๆ ก็ว่ามาลินคือ “‘ลูกพ่อ”’ มาลินเชื่อว่าพ่อรักชีวิต สองคนพ่อลูกเทียวเข้าออกโรงพยาบาลมาด้วยกันไม่เคยขาด แต่พอถึงห้วงเวลาสำคัญที่พ่อต้องการแต่เธอคนเดียวมาลินกลับไม่ได้อยู่ตรงนั้นด้วย เธอมองว่าคือความล้มเหลวของหน้าที่ผู้ดูแลที่เธออุทิศทุ่มเททำมายาวนาน และเป็นความทรงจำที่ทิ่มแทงหัวใจให้รวดร้าวทุกคราวที่คิดถึง
สาวน้อยมาลินผู้เคยสดใสที่ใครทั้งโลกหน้าจอเห็น ไม่เหลือเค้ารอยเดิมในโลกของความจริงวันนี้อีกต่อไปแล้ว ในวันวัยที่ผ่านกาลเวลาห้าทศวรรษ ร่างกระทัดรัดบางอรชรปราดเปรียวกลายเป็นอวบท้วมเชื่องช้าสองแก้มขาวผ่องยองใยอย่างสาวน้อยลูกจีน วันนี้ไร้สีสันที่เคยแต่งแต้มแบบสาวรักสวยรักงาม ที่เคยเป็น ใบหน้าหม่นซูบมีรอยร่องไว้บรรจุความทุกข์ตรมที่ผ่านเข้ามา ผมละเอียดเส้นตรงดำขลับเงาระยับทิ้งยาวถูกตัดสั้นแค่คาง เส้นแห้งกร้านแซมดอกเลาตลบขึ้นค้างบนกระหม่อมด้วยกิ๊บพลาสติกดำยาวตัวเดียว ปาดชายที่เหลือเหน็บหูง่าย ๆ ชุดเดรสเก๋ไก๋ถูกแทนด้วยเสื้อยืดคอกลมสีหม่นตัวโคร่งกับกางเกงฝ้ายสีดำขายาวหลวม ประกายวาววับล้อแสงในตาคู่นั้นเหือดแห้ง คลอน้ำฉ่ำแดงบางเวลา เช่นเวลานี้ที่เธอหวนคิดถึงการตายของพ่อ และหัวใจเธอมุ่งมั่นว่าจะต้องไม่เกิดแบบเดียวกันกับแม่อีกคน
งานศพพ่อยังไม่ทันพ้นเดือน ข่าวร้ายเข้ามาซ้ำครอบครัวของมาลินอีกครั้ง มะเร็งปอดของแม่ที่พาไปรับเคมีบำบัดและฉายแสงจากโรงพยาบาลใหญ่ในเมืองมาตลอดปี บัดนี้โรคไม่ตอบสนองต่อการรักษา และลุกลามไปยังปอดข้างที่เหลือ แม่ต่างจากพ่อตรงที่ยังมีอารมณ์ขันได้ในยามป่วยไข้ กับโรคเบาหวานแม่ดูแลตัวเองได้ดีมาตลอด พอเป็นมะเร็งแม่ใจเสียในวันที่ได้ยิน แต่ก็เดินหน้ารักษาตามที่คุณหมอแนะนำ ไม่นานใจแม่ก็กลับมาเป็นแม่คนเดิมผู้มีช่วงเวลาอารมณ์ดี ยังพูดหยอกเย้าให้ลูกมีรอยยิ้มได้บ้าง
หมอว่าอย่างไรลูกว่าอย่างไรแม่เอาตามนั้น แม่ไม่เคยปริปากคร่ำครวญ เว้นแต่อาการของโรคจะแสดงออกมาเอง วันที่หมอบอกว่ารักษาตัวโรคไม่ได้แล้ว แต่ยังมีการรักษาเพื่อบรรเทาอาการรบกวนได้ แม่ทวนถามคุณหมอคำเดียวว่าไม่มีทางรักษาอื่นจริง ๆ หรือ แล้วก็เงียบไปหลังฟังคำตอบ ลูก ๆ กังวลว่า แม่จะหมดกำลังใจ แต่สุดท้ายแม่ว่าแม่รู้ตัวของแม่เอง และยังมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์แม้ต่อมาเหนื่อยง่ายขึ้น มีแต่มาลินที่แผลใจจากการตายของพ่อทำให้เธอตื่นตระหนกกับทุกอาการที่เกิดกับแม่ เมื่ออยู่ลำพังกับแม่ที่บ้าน มาลินเฝ้าจับจ่อและมองเห็นแต่ความน่าห่วงกังวล บ่อยครั้งเธอมักโทรให้น้องชายคนใดคนหนึ่งกลับบ้านมาพาแม่เข้าโรงพยาบาลเดี๋ยวนั้น เธอเปลี่ยนโรงพยาบาลใหม่หากยังรู้สึกไม่สบายใจ
ร่วมสองเดือนที่พ่อจากไป มาลินเหลือแต่การดูแลแม่เพียงคนเดียว แทนที่เธอจะเบาแรงลงและได้ผ่อนพักบ้าง แต่กลับเป็นว่าเธอหันมาจดจ่อกับแม่มากขึ้น แม่วนเข้าออกโรงพยาบาลบ่อยขึ้น กลับไปก่อนถึงวันนัดและมักเป็นห้องฉุกเฉิน บางครั้งแม่นอนหลายคืนในโรงพยาบาล ที่ห้องรวมเฝ้าไม่ได้มาลินก็นั่งรออยู่ด้านนอกจนถึงเวลาเยี่ยมทั้งรอบกลางวันและรอต่อถึงรอบเย็น มาลินเคยรอหน้าห้องฉุกเฉินจนถึงตีสาม
นาน ๆ ทีแม่จะได้นอนห้องเดี่ยวที่มาลินได้นอนค้างด้วย สำหรับผู้ป่วยในมีหมอเข้ามาเยี่ยมทุกวันและมีพยาบาลคอยดูแลเรื่องที่มาลินเคยทำที่บ้านให้เกือบทุกอย่าง แต่มาลินก็ใช่ว่าจะสบายดีกับการนอนบนโซฟาเล็ก ๆ เธอลืมตาตื่นตลอดที่พวกเขาเข้ามาในห้องและเปิดไฟดูแม่ แต่ถึงกระนั้นมาลินก็ยังวนเวียนพาแม่เข้าโรงพยาบาลถี่ ๆ ด้วยความกังวล...ของมาลิน
ถ้าแม่อยู่บ้านมาลินต้องคอยวัดไข้ วัดความดัน และเจาะน้ำตาลเอง...ดูผลเอง ซึ่งใจลึก ๆ ของมาลินก็พรั่นพรึง เธอได้ยินคุณหมอติดเชื้อว่าการติดเชื้อในกระแสเลือดครั้งล่าสุดทำให้ค่าน้ำตาลของแม่คุมยากกว่าแต่ก่อน หมอมะเร็งบอกว่ายาบางตัวที่แม่ได้ตอนไปรับยาเคมีอาจทำให้น้ำตาลขึ้น มาลินจึงคอยระวังและจดมาให้หมอดู ก่อนนี้มาลินเป็นคนกลัวเลือดกลัวเข็ม ถึงได้เลือกเรียนภาษาและมาเป็นครู ตอนพ่อรักษาเบาหวานก็เจาะน้ำตาลเฉพาะเวลาไปโรงพยาบาล แต่นี่เธอต้องจิ้มเข็มลงปลายนิ้วแม่ที่บ้านทุกวัน พร้อม ๆ กับระวังเรื่องไข้ขึ้นหลังรับยาเคมี มาลินต้องรู้ทั้งเรื่องไข้และเรื่องค่าน้ำตาล แค่ไหนถึงเรียกว่าสูง สูงเท่าไหร่แล้วต้องทำอย่างไรต่อ มาลินเคยเจาะได้ผลออกมาสี่ร้อยกว่าแล้วรีบป้อนยาเม็ดให้แม่กิน ไม่นานก็เจาะวัดอีกที เลขค่าน้ำตาลยังไม่ลดมาลินให้กินซ้ำอีกเม็ดก็แล้วเจาะดูใหม่ก็ยังไม่ลด สองคนกับแม่อยู่บ้านแบบต่างคนต่างกลัว แต่ดูมาลินจะกลัวมากกว่าแม่ สุดท้ายจบลงด้วยมาลินพาแม่มาโรงพยาบาลทุกที
เข้าโรงพยาบาลครั้งหลัง ๆ แม่พูดกับลูกอย่างจริงจังว่าแม่พอแล้วกับชีวิตที่ผ่านมา และพร้อมถ้าจะต้องตาย พ่อก็ตาย แม่บอกหมอด้วยตัวเองเสมอถึงวาระสุดท้ายแบบที่ต้องการ ขอเพียงอย่าเจ็บปวดทรมาน ขอให้ไปอย่างสงบ แต่สำหรับมาลิน การตายของพ่อยังตามทิ่มแทงใจ ให้สะดุ้งผวากับทุกอาการที่เกิดขึ้นของแม่ แม่ไอดังเธอก็กังวล แม่หลับเงียบนานกว่าเคยเธอก็พาแม่เข้าโรงพยาบาลอีก
“คุณจะพาคนไข้กลับมาทำไมอีกเนี่ย แบบนี้ไม่ใช่เรื่องฉุกเฉิน คนไข้นอนโรงพยาบาลสามอาทิตย์ ยาเยอก็ให้ทุกอย่างแล้ว ผลเลือดก็ดีหมดทุกอย่าง นี่เพิ่งออกจากโรงพยาบาลไปคืนเดียวกลับมาอีกแล้ว จะเอามาให้ทำอะไรอีกล่ะ”
เสียงสูงรัวยาวดังลั่นใส่หน้า เมื่อมาลินกับน้อง ๆ พาแม่มาส่งที่ห้องฉุกเฉินอีกครั้ง เธอมาที่นี่ด้วยความเหนื่อยล้าหาที่พึ่ง เจอแบบนี้เข้าก็ระเบิดเสียงโฮลั่น ต่อหน้าผู้คนหน้าห้องฉุกเฉิน อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน ด้วยไม่สามารถสรรหาถ้อยคำ เพื่อสื่อความรู้สึกท่วมท้นออกมาให้ใครเข้าใจได้ว่า นาทีนั้นเธอไม่มีเรี่ยวแรงพอแบกรับแม้แต่ฟางอีกเส้นเดียว เหมือนทำนบแตก มาลินพรั่งพรูอารมณ์ความรู้สึกที่อัดแน่นอยู่ในใจมานาน กราดเกรี้ยวบอกความไม่พอใจในสถานะของตนเอง ที่การไม่ต้องออกไปทำงานของเธอ ถูกให้ความหมายว่าคือ “‘คนว่าง”’ ที่เป็นถังรองรับทุกอย่าง จากทุกคน
เสียงร้องเกรี้ยวกราดสะอึกสะอื้นเป็นจุดเริ่มให้ใคร ๆ ต่างหันมามองมาลินเป็นครั้งแรก น้องชายคนหนึ่งที่เคยแต่ยืนอยู่ข้างหลังมาตลอด เดินเข้าไปคุยกับหมอพยาบาลแทนมาลินเป็น ครั้งแรก น้องชายอีกคนกับน้องสะใภ้เข้ามาปลุกปลอบมาลิน เป็นครั้งแรกอีกเช่นกัน
มาลินเองเมื่อตั้งสติได้ เธอมองเห็นใครอีกคนที่ถูกละเลย ไร้การเหลียวแล คนนั้นคือตัวของเธอเอง ที่ควรเป็นคนแรกที่มาลินมีหน้าที่ต้องฟูมฟักดูแลให้ดี เพื่อมีพลังสำหรับทำสิ่งอื่น ๆ ต่อไป
ก็จริงอย่างที่คุณหมอเขาพูด สิ่งแรกที่เธอทำมาตลอดโดยไม่ต้องคิด คือการพาแม่เข้าโรงพยาบาลทันที จนแม่นอนโรงพยาบาลมากกว่าบ้าน ทั้งที่แม่บอกว่าอยากอยู่บ้าน เหมือนเหตุการณ์จากห้องฉุกเฉินวันนั้นกระชากมาลินให้ตื่นตาสว่าง
ภาพต่าง ๆ เลื่อนเข้ามาในห้วงคำนึง นับแต่วันที่หยุดทำงาน รายได้เลี้ยงตัวจากความสามารถและหมายถึงศักดิ์ศรีของมาลินก็หยุดไปด้วย กระทบจิตใจสะสมมากับเรื่องอื่น ๆ จนเธอจับต้นชนปลายไม่ถูก มาลินเลือกเริ่มต้นที่การเข้าพบจิตแพทย์ เธอได้ทั้งยาต้านเศร้าและคำปรึกษาจากนักวิชาชีพ มาลินหันมองชีวิตด้วยสายตาใหม่ เธอต้องการชีวิตในแบบที่เธอเองยอมรับได้ และรู้ว่าคนที่จะพูดเพื่อเธอ คือตัวของเธอเอง บางทีมาลินก็อดคิดไม่ได้ว่า เธอเองก็มีส่วนอนุญาตให้ชีวิตเป็นแบบนั้นเองด้วย วันนี้มาลินเรียนรู้ ที่จะส่งเสียง บอกความรู้สึกที่แท้จริงไม่เก็บกัก เธอบอกความต้องการ เธอปฏิเสธ ต่อรอง จากเริ่มด้วยเสียงสั่น ๆ หวั่นในใจของคนไม่เคยทำเพื่อตัวเองมาก่อนแต่เธอยืนหยัด
มาลินสามารถพูดในวันที่รู้สึกว่าไม่พร้อม ไม่ไหว บอกความต้องการความช่วยเหลือ เธอไม่เลื่อนนัดตรวจฟันเพื่อเฝ้าแม่เหมือนที่เคย ออกไปเดินเล่นห้างสรรพสินค้าโดยไม่ต้องมีธุระจริงจัง
“จะเป็นอย่างไรถ้าวันที่เราออกจากบ้านไปแล้วเกิดเรื่องวิกฤติกับแม่ ตอนที่เราไม่ได้อยู่ด้วย”’ คำถามนี้เริ่มผุดขึ้นมาในใจบ่อยครั้งในตอนหลัง ๆ เย็นนี้มาลินในชุดออกกำลังกาย ใบหน้าชื้นเหงื่อเพิ่งเดินกลับเข้าบ้านหลังออกไปวิ่งเบา ๆ ที่สวนสาธารณะเหมือนทุกเย็น เธอผ่อนลมหายใจยาว หย่อนตัวบนเก้าอี้สนามหน้าบ้านเงียบ ๆ สายตาเหม่อมองแจกันดอกไม้สวยแปลกตา ผลงานจากกลุ่ม “‘ดอกไม้จัดใจ” ’ที่เธอกำลังฝึก
ใจหวนคำนึงถึงเส้นทางชีวิตที่ผ่านมา ถ้าไม่นับเช้ามืดวันนั้น เธอก็ตัวติดอยู่กับพ่อแทบตลอดเวลา เธอพาแม่เข้าออกโรงพยาบาลครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะอยากให้แม่ “‘‘ได้อยู่ใกล้ ๆ หมอ”’’
สองสามเดือนของแม่ก็คือเวลาของมาลินคู่ขนานไปด้วยเช่นกัน ภาพตัวเองตอนนั่งหน้าห้องรอเยี่ยมแม่แล้วเห็นคนนั่งร้องไห้ พาใจมาลินให้จินตนาการถึงแม่ที่นอนอยู่ข้างในห้องเดียวกันกับเขา ภาพแม่นอนกองสลบไสลบนผ้าปูที่นอนสีขาวซ้อนกันสองสามชั้นยับยู่ยี่ ภาพสองแขนแม่มีก้อนสำลีสีขาวแปะกระจายหลายจุด สายน้ำเกลือไปเสียบที่อยู่ขาแม่ “ ‘‘คนไข้หาเส้นยาก”’ ’คือคำอธิบายที่มาลินได้ยินซ้ำ ๆ จนเห็นความทุกข์ทั้งของแม่และของคนทำงาน
เป็นสองสามเดือนที่มาลินสามารถอดทนยืนข้างเตียงคนไข้ที่ไม่มีเก้าอี้นั่งให้ เพราะอยากอยู่ใกล้แม่ มาลินทำใจเพราะพื้นที่ต้องมีไว้วางอุปกรณ์ช่วยเหลือแม่ก็เห็นอยู่ ในห้องรวมที่แม่นอนเห็นประตูทางเดียว หน้าต่างทุกบานเหมือนปิดตาย ผนังห้องสีฟ้าเทาหม่นทึบทุกทิศทาง ไม่เคยเห็นแสงเดือนแสงตะวันลอดเข้ามา แม่คงไม่รู้วันรู้คืนด้วยแสงจากหลอดนีออนยาวสว่างจ้าสาดไปทั่ว ตลอดทั้งวันทั้งคืน มาลินมองไปเห็นแต่สิ่งของเกะกะกระจัดกระจายคนละทิศละทาง
และแม่คงได้ยินทั้งวันทั้งคืน เหมือนที่มาลินได้ยินตลอดสองชั่วโมงที่เข้ามายืนข้างเตียงแม่ เสียงดังบรรเลงตลอดทั้งจากคนเข็นรถเข้ามาแจกยาฉีดยาเป็นช่วง ๆ เสียงคุณหมอ คุณพยาบาลเข้ามาเยี่ยมไข้เตียงนั้นที เตียงโน้นที เสียงเขาคุยกันเอง คุยกับคนไข้ คุยกับญาติ ท่ามกลางภาพสีแดงประหลาดของถังขยะปลายเตียงทุกเตียง ขนาดของมันใหญ่เกือบเท่าถังที่มาลินตั้งหน้าบ้าน อันที่จริงมาลินก็แข็งแรงดีไม่เจ็บไม่ไข้มาก่อนนอกจากใจที่ห่วงกังวลกับแม่ แต่ภาพ เสียง และกลิ่นรอบตัวชวนหดหู่จนบางครั้งมาลินรู้สึกผะอืดผะอม “‘เขามีเตียงให้แม่เรานอนก็ดีแล้ว”’ มาลินรำพึงกับตัวเองแล้วเข้าไปลูบหน้าในห้องน้ำผู้ป่วย ก่อนกลับมายืนข้างเตียงแม่อีกครั้ง
“Bleeding Precaution” ตัวอักษรสีขาวบนแผ่นพลาสติกสีแดงขนาดสองคืบที่วันนี้เพิ่งเห็นแขวนหัวเตียง ซ้อนต่อ ๆ กับป้ายห้าม ป้ายระวัง ป้ายคำสั่ง ป้ายคำเตือนและป้ายอื่น ๆ คุณครูมาลินสอนภาษาอังกฤษแต่ก็ไม่เข้าใจจึงไม่ค่อยสบายใจ เกิดอะไรขึ้นกับแม่ถึงมีป้ายนี้เพิ่มมา เจ้าหน้าที่ชุดเดิม ๆ ที่สลับเปลี่ยนเวรกันไปมา ชุดนั้นขึ้นชุดนี้ลง บางคนหน้ายิ้ม บางครั้งหน้าเหนื่อย มาลินต้องคอยคิดก่อนว่าจะถามอะไรกับใครตอนไหนดี
วันหนึ่งมาลินยืนเงียบ ๆ มองแม่หลับตาหายใจสม่ำเสมอ กับสายออกซิเจนเสียบเข้ารูจมูกสองข้าง เธอไม่สบายใจกับเส้นกราฟยึกยือบนจอแขวนลอยเหนือหัวเตียงแม่ ที่บางครั้งส่งเสียงแปลก ๆ ขึ้นมา แล้วก็เงียบไป จนแม่ลืมตาขึ้นมาเมื่อผู้ป่วยชายชราเตียงเว้นไปส่งเสียงเพ้อตะโกนด่าทอใครสักคนอยู่ในความหลับไหล มาลินได้แต่ลูบผมแม่เบา ๆ ปลอบใจ ลืมไปชั่วขณะว่าแม่กำลังติดเชื้อดื้อยา แล้ววันนั้นแม่ก็ไม่หลับอีกเลย แม่จะหลับอย่างไร ในห้องรวมที่มองไปทางไหนก็เห็นแต่ความรกเกะกะและผู้คนสีหน้าทุกข์ทนมานส่งเสียงร้องโอดโอย หญิงชราเตียงตรงข้ามไอแรงมีเสมหะ จนกลัวจะกระเด็นมาถึงแม่ แล้วแม่ แล้วเสียงแหลมตื๊ดดังแหวกขึ้นมาจากเครื่องที่พันแขนแม่ก็ปลุกมาลินตื่นจากพะวังและสบตากับแม่ เดี๋ยว ๆ เตียงอื่นก็ดังแบบนี้ สลับกันบ้างพร้อมกันบ้าง ไม่ต้องมีใครทำอะไรก็เงียบไปเองแล้วก็ดังขึ้นมาใหม่ มาลินทอดถอนใจแล้วบอกตัวเองว่านี่คือที่ที่มาลินเอาชีวิตแม่มาฝากไว้ “ได้อยู่ใกล้ ๆ หมอ”
“พาแม่กลับบ้านเรานะ” แม่สบตาอ้อนวอนมาลิน บอกคำขอเดิมทุกครั้งที่ตื่นมาพบว่านอนอยู่ในโรงพยาบาล ในที่สุดลูก ๆ เคารพการตัดสินใจของแม่
แม่กลับมาพักที่บ้านอย่างรู้สึ
