8 มิถุนายน 2566
ที่ไหนคืออย่างไร ว่าด้วยภววิทยาของ “งานภาคสนาม”
Fieldwork Story  EP.10
หัวข้อ ที่ไหนคืออย่างไร ว่าด้วยภววิทยาของ "งานภาคสนาม"


นักมานุษยวิทยามักถูกถามว่าทำงานภาคสนามที่ไหน มุมมองภาคสนามที่มีฐานคิดเชิงพื้นที่ ทำให้สนามกลายเป็นสิ่งที่อยู่ที่นั่น ซึ่งรอคอยให้นักมานุษยวิทยาเข้าไปทำงาน และอธิบายลักษณะของมันผ่าน "งาน" ของนักมานุษยวิทยา

บทสนทนานี้จะชวนกลับมาทบทวนแนวคิดว่าด้วยงานภาคสนามเสียใหม่ และย้ายความสนใจจาก "งาน" ไปสู่ "สนาม" โดยมองสนามไม่ใช่เป็นพื้นที่แต่เป็นความสัมพันธ์ ผ่านการตั้งคำถามว่าสนามเป็นอย่างไร มันประกอบขึ้นมาอย่างไร จากอะไร ในความสัมพันธ์รูปแบบไหน จุดสนใจของงานภาคสนามไม่ใช่การสนใจแต่เพียง "งาน" ของนักมานุษยวิทยาในสนามเท่านั้น หากแต่ต้องตั้งคำถามพื้นฐานว่าจริง ๆ แล้ว "สนาม" ที่กำลังเข้าไปนั้น มันมีภววิทยาในลักษณะอย่างไรด้วย

บทสนทนานี้จะหยิบยกสนามของบรรยากาศ (atmosphere) วัตถุภาวะเชิงผัสสารมณ์ (affective materiality) และจักรวาลนิเวศ (cosmoecology) มาเป็นตัวอย่างของการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณาว่าด้วยความเป็นเมือง เพื่อชี้ให้เห็นว่า การทำงานภาคสนามเพื่อศึกษาเมืองนั้นไม่ได้ประกอบขึ้นจากพหุสนาม (multi-sited) ที่หลากหลายเท่านั้น หากแต่สนามเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มีความเป็นพหุภาวะ (site multiple) ด้วยในเวลาเดียวกัน ไม่ต่างจากความเป็นสังคม ซึ่งไม่อาจอนุมานเอาได้ งานภาคสนามจึงเป็นการทำความเข้าใจภววิทยาของสนามที่ต้องการอธิบายสนามในฐานะกิริยาของการประกอบร่วมและการดำรงอยู่ของมัน  

วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 เวลา 13.00 น. - 15.00 น.
รับชมถ่ายทอดสดทาง Facebook Fanpage: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-SAC

วิทยากร  
รศ.ดร.จักรกริช สังขมณี
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดำเนินรายการ 
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและส่งเสริมวิชาการ
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ข่าวก่อนหน้า
แชร์ข่าวนี้
Share
ข่าวถัดไป
ตะกร้าสินค้า
ลงชื่อเข้าใช้งาน
เพื่อเว็บไซต์จะแนะนำหนังสือ
ในหมวดหมู่ที่คุณอาจสนใจได้ทันที
ลืมรหัสผ่าน?
กรุณากรอกอีเมลที่ท่านสมัครสมาชิกไว้เพื่อรับรหัสผ่านใหม่
ระบบจัดส่งการสร้างรหัสผ่านใหม่ให้ท่านทางอีเมลเรียบร้อยแล้ว
นโยบายความเป็นส่วนตัว