
23 พฤษภาคม 2566
Fieldwork in Xishuangbanna นักมานุษยวิทยากับงานภาคสนามใต้เงาสังคมนิยมจีน

Fieldwork Story EP.9
หัวข้อ Fieldwork in Xishuangbanna
นักมานุษยวิทยากับงานภาคสนามใต้เงาสังคมนิยมจีน
.
งานภาคสนามต่างแดน ต่างวัฒนธรรม คือ พิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน (rite of passage) สำคัญที่ นักเรียนมานุษยวิทยา ต้องเข้าร่วม ถือปฏิบัติ และทำงานอุทิศชีวิต เพื่อ “ผ่าน” ขั้นตอนสำคัญนี้ และมีประสบการณ์ร่วม จนหล่อหลอม ตัวตนของนักมานุษยวิทยาขึ้นมา
.
จากการทำงานภาคสนามแบบมานุษยวิทยาจารีตนี้อย่างจริงจังเข้มข้น รวม 2 ทศวรรษใน “เขตปกครองตนเองชนชาติไทสิบสองปันนา” ยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน การบรรยายจะเล่า ประสบการณ์แรกเริ่ม ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจากกลายมาเป็นนักมานุษยวิทยา จนกระทั่งปัจจุบัน
.
ชีวิตภาคสนามในเขตชนบทของจีน การทำงานวิจัยในบริบทสังคมนิยม ที่ด้านหนึ่งก็เปิดกว้างด้านเศรษฐกิจ การค้า การพัฒนา กับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ทว่าในอีกด้านหนึ่ง รัฐบาลจีน ยังคงเฝ้าระวัง ปัญหาความขัดแย้ง “การไม่ยอมเปลี่ยนเป็นจีนแบบฮั่น” ของชนชาติส่วนน้อย
ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง นักมานุษยวิทยา ซึ่งถูกมองว่าคือ “คนอื่น” กับ ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่น นักวิชาการ จนไปถึง “คนของรัฐ” คือกระบวนสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวพันไปกับการทำงานภาคสนามของนักมานุษยวิทยา การเข้าถึง/เข้าไม่ถึง เข้าถึง “ข้อมูล” ไม่ได้ นักมานุษยวิทยาจะทำงานอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเพื่อเขียนงานวิชาการของตน
.
บรรยายโดย
รศ.ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดำเนินรายการโดย
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและส่งเสริมวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
หัวข้อ Fieldwork in Xishuangbanna
นักมานุษยวิทยากับงานภาคสนามใต้เงาสังคมนิยมจีน
.
งานภาคสนามต่างแดน ต่างวัฒนธรรม คือ พิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน (rite of passage) สำคัญที่ นักเรียนมานุษยวิทยา ต้องเข้าร่วม ถือปฏิบัติ และทำงานอุทิศชีวิต เพื่อ “ผ่าน” ขั้นตอนสำคัญนี้ และมีประสบการณ์ร่วม จนหล่อหลอม ตัวตนของนักมานุษยวิทยาขึ้นมา
.
จากการทำงานภาคสนามแบบมานุษยวิทยาจารีตนี้อย่างจริงจังเข้มข้น รวม 2 ทศวรรษใน “เขตปกครองตนเองชนชาติไทสิบสองปันนา” ยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน การบรรยายจะเล่า ประสบการณ์แรกเริ่ม ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจากกลายมาเป็นนักมานุษยวิทยา จนกระทั่งปัจจุบัน
.
ชีวิตภาคสนามในเขตชนบทของจีน การทำงานวิจัยในบริบทสังคมนิยม ที่ด้านหนึ่งก็เปิดกว้างด้านเศรษฐกิจ การค้า การพัฒนา กับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ทว่าในอีกด้านหนึ่ง รัฐบาลจีน ยังคงเฝ้าระวัง ปัญหาความขัดแย้ง “การไม่ยอมเปลี่ยนเป็นจีนแบบฮั่น” ของชนชาติส่วนน้อย
ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง นักมานุษยวิทยา ซึ่งถูกมองว่าคือ “คนอื่น” กับ ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่น นักวิชาการ จนไปถึง “คนของรัฐ” คือกระบวนสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวพันไปกับการทำงานภาคสนามของนักมานุษยวิทยา การเข้าถึง/เข้าไม่ถึง เข้าถึง “ข้อมูล” ไม่ได้ นักมานุษยวิทยาจะทำงานอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเพื่อเขียนงานวิชาการของตน
.
บรรยายโดย
รศ.ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดำเนินรายการโดย
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและส่งเสริมวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
