
4 กุมภาพันธ์ 2564
พุทธศิลป์ไทยสายสัมพันธ์กับศรีลังกา

การบรรยายวิชาการสาธารณะ "พุทธศิลป์ไทยสายสัมพันธ์กับศรีลังกา" โดย รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เขียนหนังสือพุทธศิลป์ไทยสายสัมพันธ์กับศรีลังกา
.
รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ได้คลี่ให้เห็นถึงสายสัมพันธ์ไทยกับศรีลังกาผ่านงานพุทธศิลป์ ที่ได้ศึกษาข้อมูลจากลายลักษณ์อักษร พุทธศิลปกรรม ปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ จิตรกรรม ซึ่งจากการสันนิษฐานว่าดินแดนไทยกับศรีลังกามีการติดต่อสัมพันธ์ทางด้านพุทธศาสนากันมาอย่างยาวนาน (ก่อนหน้าพุทธศตวรรษที่ 18) แต่หลักฐานยังมีน้อยเกินกว่าจะให้เห็นความสัมพันธ์ กระทั่งราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 อันเป็นระยะเวลาที่ในดินแดนไทยเกิดบ้านเมืองต่างๆ ขึ้น ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุโขทัย ล้านนา และกรุงศรีอยุธยา ได้พบว่าพุทธศาสนาจากศรีลังกา ได้เป็นแกนความเชื่อหลักของบ้านเมืองเหล่านี้ หรือที่เรียกว่า "ลังกาวงศ์"
.
จนกระทั่งถึงความรุ่งเรืองของพุทธศิลป์ไทยในลังกาตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา ที่ รศ.ดร.รุ่งโรจน์ กล่าวว่า "คนไทยยังมองลังกาเป็นศูนย์กลางความรุ่งเรืองของพุทธศาสนา ดูเหมือนไม่ได้ต่างจากยุคที่พุทธศาสนาของลังกาเข้าสู่เมืองไทย แต่ในเชิงพุทธศิลป์ พบว่า ในช่วงแรกรับลังกาวงศ์ที่นครศรีธรรมราช สุโขทัย ล้านนา และกรุงศรีอยุธยาตอนกลางเกิดขึ้น ทั้งรูปแบบและคติความเชื่อมุ่งไปลังกา แต่พอมาถึงอยุธยาตอนปลายผ่านรัตนโกสินทร์ พุทธศาสนาไทยรุ่งเรือง พุทธศิลป์ไทยรุ่งเรือง ในขณะที่พุทธศาสนาในลังกาได้ตกต่ำถึงขนาดไม่มีพระสงฆ์อยู่เลย เพราะฉะนั้นความรุ่งเรืองแบบที่เห็นได้ด้วยตาแบบอยุธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ไม่มีอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นลักษณะของความรุ่งเรืองผ่านความทรงจำ ผ่านเรื่องเล่า ผ่านคัมภีร์ เพราะฉะนั้นพุทธศิลป์จึงไม่ใช่การเลียนแบบหน้าตา เลียนแบบรูปลักษณ์ แต่เป็นหน้าตาแบบไทยที่สะท้อนความศักดิ์สิทธิ์ในความทรงจำ และลังกาในความทรงจำมากกว่า"
.
ผู้สนใจสามารถรับชมการบรรยายสาธารณะย้อนหลังได้แล้ววันนี้ ผ่านช่องทาง
Facebook Fan page : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-SAC
https://bit.ly/2YF15lL
YouTube : https://youtu.be/wsRsJNP_8s4
...................................................................................................
ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อหนังสือพุทธศิลป์ไทยสายสัมพันธ์กับศรีลังกา ได้ที่
https://www.sac.or.th/main/th/publication/index
.
#บรรยายสาธารณะ #ชมย้อนหลัง #โบราณคดี #ประวัติศาสตร์ #พุทธศิลป์ #ศรีลังกา #ไทย #ความสัมพันธ์ #ศมส. #SAC #ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร #ร้านหนังสือศมส. #SACshop
.
รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ได้คลี่ให้เห็นถึงสายสัมพันธ์ไทยกับศรีลังกาผ่านงานพุทธศิลป์ ที่ได้ศึกษาข้อมูลจากลายลักษณ์อักษร พุทธศิลปกรรม ปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ จิตรกรรม ซึ่งจากการสันนิษฐานว่าดินแดนไทยกับศรีลังกามีการติดต่อสัมพันธ์ทางด้านพุทธศาสนากันมาอย่างยาวนาน (ก่อนหน้าพุทธศตวรรษที่ 18) แต่หลักฐานยังมีน้อยเกินกว่าจะให้เห็นความสัมพันธ์ กระทั่งราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 อันเป็นระยะเวลาที่ในดินแดนไทยเกิดบ้านเมืองต่างๆ ขึ้น ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุโขทัย ล้านนา และกรุงศรีอยุธยา ได้พบว่าพุทธศาสนาจากศรีลังกา ได้เป็นแกนความเชื่อหลักของบ้านเมืองเหล่านี้ หรือที่เรียกว่า "ลังกาวงศ์"
.
จนกระทั่งถึงความรุ่งเรืองของพุทธศิลป์ไทยในลังกาตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา ที่ รศ.ดร.รุ่งโรจน์ กล่าวว่า "คนไทยยังมองลังกาเป็นศูนย์กลางความรุ่งเรืองของพุทธศาสนา ดูเหมือนไม่ได้ต่างจากยุคที่พุทธศาสนาของลังกาเข้าสู่เมืองไทย แต่ในเชิงพุทธศิลป์ พบว่า ในช่วงแรกรับลังกาวงศ์ที่นครศรีธรรมราช สุโขทัย ล้านนา และกรุงศรีอยุธยาตอนกลางเกิดขึ้น ทั้งรูปแบบและคติความเชื่อมุ่งไปลังกา แต่พอมาถึงอยุธยาตอนปลายผ่านรัตนโกสินทร์ พุทธศาสนาไทยรุ่งเรือง พุทธศิลป์ไทยรุ่งเรือง ในขณะที่พุทธศาสนาในลังกาได้ตกต่ำถึงขนาดไม่มีพระสงฆ์อยู่เลย เพราะฉะนั้นความรุ่งเรืองแบบที่เห็นได้ด้วยตาแบบอยุธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ไม่มีอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นลักษณะของความรุ่งเรืองผ่านความทรงจำ ผ่านเรื่องเล่า ผ่านคัมภีร์ เพราะฉะนั้นพุทธศิลป์จึงไม่ใช่การเลียนแบบหน้าตา เลียนแบบรูปลักษณ์ แต่เป็นหน้าตาแบบไทยที่สะท้อนความศักดิ์สิทธิ์ในความทรงจำ และลังกาในความทรงจำมากกว่า"
.
ผู้สนใจสามารถรับชมการบรรยายสาธารณะย้อนหลังได้แล้ววันนี้ ผ่านช่องทาง
Facebook Fan page : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-SAC
https://bit.ly/2YF15lL
YouTube : https://youtu.be/wsRsJNP_8s4
...................................................................................................
ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อหนังสือพุทธศิลป์ไทยสายสัมพันธ์กับศรีลังกา ได้ที่
https://www.sac.or.th/main/th/publication/index
.
#บรรยายสาธารณะ #ชมย้อนหลัง #โบราณคดี #ประวัติศาสตร์ #พุทธศิลป์ #ศรีลังกา #ไทย #ความสัมพันธ์ #ศมส. #SAC #ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร #ร้านหนังสือศมส. #SACshop
